รูปบทความ 3 การลงทุนที่คู่ควร ในช่วงสงครามโลก

3 การลงทุนที่คู่ควร ในช่วงสงครามโลก


ในช่วงปี 2563 ที่เราพึ่งก้าวเข้ามาได้ไม่นาน แต่กลับเกิดเรื่องราวมากมายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดจากไวรัสโคโรนา, ภัยพิบัติครั้งใหญ่ทั้งในออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ และที่เป็นประเด็นใหญ่อยู่สักพักหนึ่งคือ “สงครามโลกครั้งที่สาม” ฟังดูน่าใจหาย เมื่อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงแค่เดือนแรกของปีเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น!


หากพูดถึงเรื่องสงครามโลก หรือแม้แต่สงครามขนาดเล็ก สิ่งที่ดูจะไปด้วยกันไม่ได้ในความคิดหลายท่านเลยคือ “การลงทุน” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 พบว่า หุ้นขนาดใหญ่อย่างดาวน์โจนส์มีช่วงที่ตกลงตนเข้าขั้นติดลบในช่วงสงครามจริง แต่เมื่อสงครามผ่านพ้นกลับดีดตัวขึ้นสูงจนน่าตกใจ


ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลงกว่า 30% ในช่วง 6 เดือนแรก ถึงขนาดว่ามีการตัดสินใจปิดตลาดหุ้นเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือน และภายหลังจากการเปิดการดำเนินการของตลาดอีกครั้งในปีถัดมา ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 88% ซึ่งนับว่าเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปีที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของดัชนีดาวโจนส์ตราบจนถึงปัจจุบัน


เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เมื่อเกิดสงครามขึ้น สิ่งที่ตลาดหุ้นตอบสนองคือ “ความตกใจ” จนทิ้งหุ้น โดยปกติแล้วตลาดจะปรับตัวขึ้นลงตามความรุนแรงของแต่ละเหตุการณ์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ได้กระทบกับปัจจัยพื้นฐานและกิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น สุดท้ายถ้าบริษัทยังค้าขายมีกำไร คนยังต้องกินต้องใช้สินค้านั้น ๆ ราคาหุ้นก็จะกลับคืนมา


ในบทความนี้ Esto จะมาชี้ให้เห็นถึงช่องทางที่สามารถพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส แม้ในช่วงสงครามยังมีช่องทางน่าลงทุนปรากฏออกมาให้เห็น จะมีช่องทางไหนบ้างต้องติดตามอ่านกัน




1. พันธบัตรรัฐบาล


พันธบัตรรัฐบาล คือตราสารที่รัฐบาลสัญญาว่าจะใช้คืนเงินต้น เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้รัฐบาลหยิบยืมเงินโดยสมัครใจ โดยระหว่างนั้นจะมีดอกเบี้ยให้ในอัตราที่แน่นอน


เป็นสาเหตุให้อัตราของผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างต่ำกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่อย่างน้อยยังอุ่นใจในระดับหนึ่งว่า เงินต้นของเราจะไม่หายไปไหน และอัตราผลตอบแทนค่อนข้างคงที่ เพราะในช่วงสงครามเงินจะเริ่มด้อยค่าลงเรื่อย ๆ เช่นนั้น การถือเงินไว้ในมือเปรียบเสมือนมองธนบัตรค่อย ๆ กลายเป็นกระดาษธรรมดา การไปฝากไว้กับรัฐบาลในรูปแบบพันธบัตรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถคงความสำคัญของเงินที่เรามีเอาไว้จนจบช่วงสงคราม


ที่มา: www.krungsri.com


ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกนั้นอยู่ระดับต่ำมาอย่างยาวนาน จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป และในบางประเทศ พันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนติดลบก็มี


แต่ไม่ใช่ในภาวะสงคราม ที่จากประวัติศาสตร์ของโลกก็เคยมีหลายประเทศออกพันธบัตรมาจำนวนมากในยามสงคราม เพื่อมาใช้จ่ายในกำลังทหารและอาวุธ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาก็คือ รัฐจะทำให้ค่าเงินด้อยลง โดยการพิมพ์ธนบัตรออกมาจำนวนมาก ๆ เพื่อล้างหนี้




2. ทองคำ


อย่างที่เราทราบกันดีว่าทองคำนั้นมีค่าในตัวมันเอง และเป็นตัววัดความมั่งคั่งและมั่นคงของสถานการณ์โลก ทองคำต่างจากธนบัตรตรงที่ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีจำกัด แต่ธนบัตรอาจถูกพิมพ์ออกมาได้เรื่อย ๆ สังเกตได้จากในช่วงที่มีข่าวสงคราม ราคาทองคำจะพุ่งสูงขึ้นทันที และเมื่อความกังวลน้อยลง ราคาทองคำก็จะตกลงมา


ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาได้สั่งหุ่นโดรนให้ไปสังหารนายพลสุไลมานี ถึงในประเทศอิหร่าน ปรากฏว่าวันแรกตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเกือบ 2% แต่ผ่านไป 1 สัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดใหม่ที่ 29,000 จุด น้ำมันปรับตัวลงประมาณ 2% ทองคำปรับตัวขึ้น 1.5%


ทองคำจึงจัดเป็น Safe Heaven ที่นักลงทุนมักจะเข้าลงทุนในยามที่ตลาดการเงิน และตลาดหุ้นผันผวนอย่างหนัก เพราะราคาทองคำมักจะปรับตัวขึ้นดี อย่างที่เห็นได้ชัดก็อย่างตอน วิกฤต Brexit ที่ผ่านมา




3. หุ้น


คงสวนทางกับความคิดของหลายคนไม่น้อย เมื่อหุ้นเป็นช่องทางการลงทุนที่น่าจับตามองช่องทางหนึ่งเมื่อสงครามมาถึง เพราะความจริงแล้วเรื่องของสงครามอาจไม่ได้กระทบกับทุกบริษัทเสมอไป จากเหตุการณ์สงครามในอดีตพบว่า เมื่อถึงช่วงสงครามหุ้นจะปรับตัวลงจริง แต่เมื่อเหตุการ์ณผ่านพ้น กลับพุ่งทะยานสูงกว่าในยามปกติก็มี


เพราะเมื่อมองกันดี ๆ แล้ว เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะไม่กระทบการดำเนินงานของบางบริษัทเลย หรือบางบริษัทอาจได้ประโยชน์จากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยซ้ำ เช่น บริษัทที่ผลิตหรือค้าอาวุธสงคราม ยกตัวอย่างหุ้นกลุ่มนี้ เช่น Lockheed Martin Corp, Boeing, Raytheon เป็นต้น


ในประเทศไทยเราอาจจะไม่ได้เห็นบริษัทที่ทำธุรกิจนี้ แต่สำหรับในต่างประเทศนั้น บริษัทค้าอาวุธเหล่านี้มีขนาดใหญ่ และรายได้ดีไม่แพ้บริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ เลย ตัวอย่างเช่น บริษัท Lockheed Martin บริษัทค้าอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท 


ส่วนบริษัทที่การดำเนินงานไม่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ที่น่าจะเห็นภาพคือบริษัทที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า, ทางด่วน, รถไฟฟ้า เพราะถ้ามีสงครามภายนอกประเทศย่อมไม่กระทบอะไรกับกิจการเหล่านี้


นอกจากนั้นก็มีบริษัทที่ผลิตสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น อาหาร, น้ำดื่ม, ยารักษาโรค ที่ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราก็ยังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ เช่น ถ้าเกิดสงครามภายในประเทศ สินค้าอย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจจะกลายเป็นสินค้าขายดี เพราะประชาชนจะแห่ซื้อมาตุนไว้ จึงเป็นอีกบริษัทที่น่าจับตาลงทุนด้วย




เพราะช่วงสงครามเป็นช่วงที่เงินกำลังสลายคุณค่าตัวเองลง เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงควรใช้โอกาสนี้ลงทุนในช่องทางเหล่านี้ เพราะพอสงครามจบลง การลงทุนในช่องทางเหล่านี้จะให้ผลประกอบการที่ดีมากกว่าในช่วงเวลาปกติเสียอีก


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์