รูปบทความ Money things: รัดเข็มขัด กอดความปลอดภัยด้วยการวางแผนการเงิน

Money things: รัดเข็มขัด กอดความปลอดภัยด้วยการวางแผนการเงิน

ในบทความที่แล้วของซีรีส์ Money Things ได้กล่าวถึง Passive Income ที่สามารถช่วยเพิ่มอิสรภาพทางการเงินให้กับเราได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราจะลืมให้ความสำคัญกับมันไม่ได้เลยคือเรื่องของ “เศรษฐกิจ” เพราะคือภาพรวมใหญ่ของเรื่องการเงินทั้งหมด และเศรษฐกิจที่ดีหรือแย่จะส่งผลกับเงินลงทุนต่างๆ ของเราด้วย โดยเฉพาะหุ้นที่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยตรง เพราะเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย่ ทำให้ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ลดลง เมื่อนั้นเงินปันผลที่เราจะได้จะน้อยลงด้วย


จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกอาจจะดูซบเซาบ้าง สืบเนื่องมาจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเกือบทุกประเภท แม้แต่เศรษฐกิจในไทยเองนั้นนอกจากจะได้รับผลกระทบเศรษฐกิจโลกทำให้ดูซบเซาลงแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากภายในประเทศอย่างการเมืองเองด้วย ที่ทำให้ไทยขาดความน่าเชื่อถือจนนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจในการงทุนในประเทศไทย


ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงซบเซาแบบนี้ เป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักมากพอสมควร เพราะว่ามีหลายบริษัทหลายโรงงานที่มีการปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย หากเศรษฐกิจยังไม่ดีต่อเนื่องไปอีก เป็นเรื่องที่น่าคิดมากเลยทีเดียว หรือไม่บางร้านที่อาจจะยังไม่ปิดตัวลง แต่จะกลับมีคนไปนั่งรับประทานน้อยลง บางตา จนน่าแปลกใจ


ในซีรีส์ Money Things บทความนี้ Esto จะนำเสนอเรื่องการวางแผนรับมือกับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และมันกระทบเราอย่างไร เรื่องที่ต้องรู้ ต้องระวัง สัญญาณอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจนั้นแย่แล้ว เพื่อให้เราสามารถเตรียมรับมือ และป้องกันให้เกิดผลกระทบกับตัวเราหรืออธุรกิจของเราน้อยที่สุด


เศรษฐกิจในปัจจุบันแย่ลงอย่างไร?

จากการศึกษาพบว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังมีปัญหาเรื่องการชะลอตัว ที่เพ่งเล็งมากที่สุดคือจีน เพราะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้า ส่วนสหรัฐฯ ก็ชะลอบ้างแต่ไม่มาก ตัวเลขล่าสุดที่ออกมาก็ใกล้ๆ 3% ส่วนปีนี้ก็ประมาณ 2% ก็ถือว่าชะลอลงบ้าง แต่ถือว่าค่อนข้างดี เป็นอัตราปกติสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังไปได้ราบรื่น


แต่เศรษฐกิจของประเทศอื่นดูไม่ดีนักโดยเฉพาะทางเอเชีย มีหลายเรื่อง อย่างปัญหาจีนกับสหรัฐฯ ขัดแย้งกัน และมาตรการปกป้องทางการค้าที่สหรัฐฯ ใช้กับจีนก็กระทบ supply chain ไปในประเทศอื่นในเอเชียด้วย


ส่วนยุโรปยังไปไม่ค่อยดีนัก อาจจะต้องถึงขั้นว่ามีการปรับนโยบายการเงินให้ผ่อนคลายขึ้นหรือไม่ เป็นสิ่งที่ ECB ดูอยู่ อังกฤษยังรู้สึกว่าเดินไปแบบไม่ค่อยจะดีนักในเรื่อง brexit คือ ไม่สามารถตัดสินใจได้เป็นชิ้นเป็นอัน ต้องเลื่อนไปเรื่อยๆ สร้างความไม่มั่นใจต่อนักลงทุน


ภาพเศรษฐกิจโดยรวมถือว่ามาได้ถึงวันนี้ก็แย่พอสมควร ในอนาคตยุโรปและอังกฤษยังไม่ดีนัก โดยรวมยังไปไม่ค่อยดีแบบเมื่อก่อน ปีนี้หรือปีหน้าอาจจะเป็นปีที่น่าคิด โดยเฉพาะปีหน้าถ้าความขัดแย้งทางการค้าของจีนและสหรัฐฯ ยังตึงเครียดต่อไปก็อาจจะเป็นปีที่ยังมีปัญหาอยู่ แต่ถ้าเขาสามารถพักรบกันสักนิด ปีหน้าอาจจะไม่แย่ลงไปมาก อาจจะใกล้เคียงกับปีนี้หรืออาจจะดีกว่าเล็กน้อย ก็เป็นการคาดคะเนจากนักลงทุนหลายๆ ท่าน


ส่วนเศรษฐกิจไทยยังแย่ต่อเนื่อง แม้ตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ค่าเงินบาทที่แข็งผิดปกติ รวมถึงการลงทุนภาครัฐ-เอกชนที่ลดลงอย่างมากจะฉุด GDP ให้โตแค่ 4%


แต่ของเราจะมีปัญหาใหญ่เรื่องการส่งออกตลาดโลก สินค้าหลายๆ ตัวเริ่มแข่งขันไม่ได้เพราะค่าเงินบาทแข็งมาก ขณะที่ความต้องการสินค้าน้อยลง ยกเว้นสินค้าในประเภทยานยนต์ เพราะยานยนต์เป็นการส่งตามโควต้าของบริษัทใหญ่ที่ได้กำหนดกันไว้แล้วว่าต้องส่งให้ครบตามออร์เดอร์ที่ตกลงกันไว้


ควรรับมือเศรษฐกิจที่แย่ลงอย่างไร?

จากการศึกษาพบว่า นอกจากเศรษฐกิของไทยจะได้รับผลกระทบจากเศรษบกิจภายนอกแล้ว จุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในไทยครั้งนี้เกิดจาก “หนี้” จำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างโดยรัฐบาล ด้วยวิธีการให้พิมพ์เงินออกมาแล้วใส่เข้าไปในระบบเศรษฐกิจไทยจากหลายช่องทาง ทำให้เศรษฐกิจดูเหมือนจะโตมาตลอด


แม้ว่าปริมาณเงินที่พิมพ์แล้วใส่เข้าไปจะให้มูลค่าประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจมากขึ้นหลายเปอร์เซนต์ เช่นใส่สิบบาทแต่สร้างประโยชน์ได้มากกว่าสิบบาท แต่ก็สามารถเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการเอาหนี้มาผลักดันเศรษฐกิจ และรัฐบาลจะจ่ายคืนหนี้ก้อนนี้จากภาษีของเราไปเรื่อยๆ และยังไม่มีท่าทีว่าหนี้จะหมดลงง่ายๆ แถมยังเพิ่มขึ้นอีก


ปัญหามันเริ่มขึ้นจากตรงที่ ไทยเราใช้วิธีการนี้มาจนถึงจุดอิ่มตัวหรือที่เรียกว่า “เพดานหนี้” ที่กำหนดไว้แทบทุกช่องทางแล้ว ถ้าหนี้สูงกว่านี้เราจะไม่สามารถใช้หนี้ให้ทันกับดอกเบี้ยได้อีก ส่งผลกระทบด้านลบกับเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก จากที่เคยใส่เงินเข้าไปสิบบาทแล้วได้ประโยชน์มากกว่าสิบบาท ตอนนี้กลายเป็นได้ประโยชน์น้อยกว่าสิบบาทแล้ว แต่ไทยยังดึงดันที่จะใช้วิธีนี้ต้องไปเพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ร่วงลงไป วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้นั้นมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยิ่งกว่าที่เคยเกิดมาในอดีตทั้งหมด ไม่เพียงแค่ประเทศไทยแต่เป็นทั่วทั้งโลก วิธีรับมือที่ทาง Esto อยากแนะนำมีดังนี้


อย่าพึ่งสร้างหนี้ โดยเฉพาะหนี้ซื้อบ้าน

เพราะมีโอกาสสูงมากที่ดอกเบี้ยจะปรับให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าเรากู้บ้านช่วงนี้แล้วดอกเบี้ยปรับขึ้นไป แน่นอนว่าดอกเบี้ยต้องสูงกว่าราคาบ้านแน่ๆ ถึงจะใช้วิธีรีไฟแนนซ์ก็อาจจะยังช่วยไม่ได้มาก ยิ่งหากบริษัทต่างๆ ปลดพนักงานออกเพื่อรักษาสภาพการเงินบริษัทไว้ กลายเป็นเราที่ต้องออกจากงานจะทำให้เราไม่สามารถมีกำลังพอในการจายหนี้ก่อนนี้ได้เลย


ระวังเรื่อง Passive Income ต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเช่า กองทุน หุ้น เพราะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแต่จากเว็บไซต์ด้านการเงินหลายแห่งระบุว่า ดัชนีหุ้นหลายตัวจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่รู้จะหยุดหรือตกลงมาทีเดียวตอนไหน หากใครที่เห็นว่าหุ้นกำลังขึ้นแล้วรีบซื้อเพื่อขายในราคาที่สูงกว่าเพื่อกินกำไร ต้องระมัดระวัง และศึกษาความเสี่ยงกันสักหน่อย เพราะสถานการณ์ไม่น่าไว้ใจ หากไม่เป็นไปดั่งหวังรับรองว่าเจ็บหนักแน่นอน


สำหรับใครที่ปล่อยเช่าคอนโดกันอยู่ อาจจะมีเหตุการณ์ต้องหาผู้เช่าหน้าใหม่กันบ่อยขึ้น เพราะเมื่อบริษัทต่างๆ พากันปลดพนักงานออก เขาไม่มีความจำเป็นอะไรต้องเช่าต่อ อาจจะเปลี่ยนไปเช่าที่อื่นที่ใกล้ที่ทำงานใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทาง Passive Income ที่ต้องจับตามอง จะได้ยังคงสภาพเดิมให้เราได้กินค่าเช่าต่อไปได้


จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเราอีกแล้ว แต่มันส่งผลกระทบต่อหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตเรามาก ทั้งรายได้ที่น้อยลง และยากขึ้น รวมไปถึงรายจ่ายอย่างของมีราคาแพงขึ้น หรือร้ายกว่านั้นรัฐบาลอาจปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อหาเงินไปใช้หนี้ก็เป็นได้


ในบทควาทหน้าของซีรีส์ Money Things ทาง Esto จะนำเสนอเรื่อง แหล่งความรู้เรื่องการเงิน ทั้งคอร์สเรียน podcast youtube ที่พร้อมให้เราไปศึกษากันได้อย่างฟรีๆ เพื่อเตรียมพร้อม วางแผนรับมือกับเศรษฐกิจในทุกวันนี้ ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด


ชุดบทความ Money Things

Money things: อิสรภาพทางการเงิน = อิสรภาพตามใจเรา

Money things: หลากหลายช่องทางรายรับที่เราเลือกได้มากกว่าหนึ่ง

Money things: รัดเข็มขัด กอดความปลอดภัยด้วยการวางแผนการเงิน

Money things: รู้ไว้ใช่ว่า เรื่องเงินๆ ทองๆ

Money things: ว่าด้วยเรื่องเงินฉุกเฉิน


บทความที่น่าสนใจ

รวม 3 บัตรกดเงินสด ยอดนิยมของคนไทย ใช้บัตรไหนถึงจะคุ้ม!

YOLO: เพราะเรามีคนเดียวในโลก นิยามความสุขรูปแบบเฉพาะเรา

Happy worker: เก็บทุกความสำเร็จได้ดั่งใจด้วยการวางเป้าหมาย

สมัครบัตรเครดิตเงินเดือน 15,000 เพิ่งเริ่มทำงานจะสมัครบัตรไหนได้บ้าง ไปดูกัน!

โหลดเลย! 7 แอพเก็บเงิน ตัวช่วยวางแผนการเงินสำหรับมือใหม่หัดออม


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์