รูปบทความ Money things: หลากหลายช่องทางรายรับที่เราเลือกได้มากกว่าหนึ่ง

Money things: หลากหลายช่องทางรายรับที่เราเลือกได้มากกว่าหนึ่ง

ในบทความที่แล้วของซีรีส์ Money Things ได้กล่าวถึงเรื่ออิสรภาพทางการเงินกันไปแล้วว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าอิสรภาพทางการเงิน สำคัญอย่างไร และอย่างที่ได้กล่าวไปในบทความที่แล้วว่าการมีเงินเหลือใช้พอในแต่ละเดือนโดยไม่เป็นหนี้หรือต้องขอมยืมใครนั้นก็ถือว่าเรามีอิสรภาพทางการเงินแล้ว เช่นนั้นหากลำพังเงินเดือนของเราไม่พอจะให้ใช้ชีวิตอยู่ได้ในแต่ละเดือน การหารายรับทางอื่นก็เป็นอีกตัวเลือกที่จะทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้


เมื่อพูดถึงการหารายรับทางอื่น อาจทำให้นึกถึงรายรับที่เป็นการทำงานเสริม เช่น ฟรีแลนซ์ จริงๆ แล้วเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเราได้เช่นกัน แต่รายได้เสริมในปัจจุบันนั้นยังมีอย่างอื่นอีก เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผลจากหุ้น ค่าเช่าจากบ้านหรือคอนโดที่เราปล่อยเช่า


ทำให้เห็นได้ว่านอกจากรายได้ที่เราต้องลงทุนลงแรงเองแล้วก็ยังมีรายได้ที่เราไม่จำเป็นต้องลงทุนลงแรงเอง แต่เป็นการทำงานใหญ่เพียงครั้งเดียวเพื่อกินผลของมันไปได้อีกนาน แต่หลายอย่างเราจำเป็นต้องลงทุนก้อนใหญ่ไปก่อน แล้วจึงเก็บกินผลของมันไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องทำหรือลงแรงอะไรอีก หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “Passive Income” ส่วนงานที่เรา ต้องคิด ต้องลงแรงทำด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นงานประจำ หรือฟรีแลนซ์ เรียกว่า “Active Income


ในซีรีส์ Money Things บทความนี้ จะนำเสนอว่าในชีวิตของเรานั้นสามารถมีรายได้จากช่องทางไหนได้บ้าง หลักๆคงจะเป็นงานประจำ และยังมีรายได้เสริมอื่นๆ อีก ที่จะช่วยเพิ่มอิสรภาพทางการเงินให้กับเรา และยังทำให้เรามีเงินเก็บออมได้อีกมากเพื่อนำไปลงทุนต่อ สร้าง Passive Income และเป็นรากฐานความมั่นคงของชีวิตในอนาคตด้วย


การลงทุน..ใครก็ทำได้

เมื่อเห็นจั่วหัวคำว่า “ลงทุน” แล้วส่วนใหญ่มักจะคิดกันว่า คงต้องใช้เงินเยอะมากแน่ๆ ต้องล้มละลายเหมือนในหนังแน่ๆ กว่าจะได้ทุนคืนใช้เวลานานแน่ๆ ซึ่งจริงๆ แล้วการลงทุนนั้นมีช่องทางเยอะมากให้เราได้เลือกลงเงินของเราไปเพื่อหวังผลตอบแทน การลงทุนจะมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญของเงินที่ได้กลับมา คือ “ความเสี่ยง” กล่าวคือ การลงทุนที่ความเสี่ยงสูงมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงตามไปด้วย และมีโอกาสขาดทุนสูงเช่นกัน


หากยังคิดไม่ออกว่าจะเริ่มลงทุนจากอะไรดี ขอให้ลองถามตัวเองก่อนว่าเราตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้ว่าอย่างไรบ้าง เราสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เรามีเงินทุนแค่ไหนในการลง และระยะหวังผลที่จะได้เงินกลับมาอย่างเห็นได้ชัดเราตั้งไว้ที่นานแค่ไหน ถึงจะสามารถเลือกได้ว่าเรานั้นเหมาะกับการลงทุนแบบใด


ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปที่คนทั่วไปมีกันอยู่แล้ว จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากไม่ถึง 1% ต่อเดือน ดอกเบี้ยที่ได้จึงเป็นดอกเบี้ยหัวแตกที่แม้จะได้ทุกเดือนแต่ไม่สามารรวมกันเป็นก้อนเพื่อทำหรือซื้ออะไรสักอย่างได้เลย บัญชีเงินฝากที่จะหยิบยกมาพูดถึงกันคือ “บัญชีฝากประจำ” แบบปลอดภาษีเงินได้


เพราะเป็นบัญชีเงินฝากที่ได้รับดอกเบี้ยสูงที่สุด โดยแลกมากับเงื่อนไขจะมีระยะเวลาการฝากประจำเป็นเงินเท่ากันทุกเดือน และในระหว่างช่วงฝากเงินนี้ไม่สามารถถอนเงินออกได้ ไม่เช่นนั้น ดอกเบี้ยจะถูกลดลงไปจนเท่ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ปกติ โดยตัวบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษีนั้นจะสามารถเปิดได้คนละหนึ่งบัญชีเท่านั้น


บัญชีเงินฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดในขณะนี้ คือ บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีของธนาคารไทยเครดิต ที่มีให้เลือกสองแบบ คือ 24 เดือน และ 36 เดือน ได้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.75-3% ตามลำดับ โดยต้องฝากขั้นต่ำที่ 1,000 ต่อเดือน และไม่เกิน 25,000 บาท ต่อเดือน


กองทุนรวม

สำหรับมือใหม่ในการลงทุน ขอแนะนำ “กองทุนรวม” เพราะมีความเสี่ยงไม่สูงเกินไป และได้ผลตอบแทนอยู่ในระดับดี เงินลงทุนไม่เยอะมากก็สามารถลงได้ เพียงหลักพันบาท กองทุนรวมคือการนำเงินลงทุนของผู้ลงทุนไปบริหารด้วยการนำไปลงทุน โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่คอยดูแลเงินของเราให้โดยที่เราไม่ต้องคอยนั่งบริหารเอง เมื่อได้เงินตอบแทนกลับมา ทางกองทุนรวมจะส่งเข้าตัวผู้ลงทุนกองทุนรวมโดยตรง


หุ้น

ตลาดหุ้นมักเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่นักลงทุนซึ่งอยากให้เงินทำงานแทนเรานึกถึง เพราะความรวดเร็วในการซื้อขาย มีตัวเลือกในธุรกิจมากมายให้ได้ลงทุน ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้ การลงทุนในหุ้นหรือการเล่นหุ้นมีความเสี่ยงสูงมากตามไปด้วย เป็นสาเหตุให้มือใหม่ใจถึงจำนวนมากเอาเงินที่มีไปสูญในตลาดหุ้น แทนที่จะได้กำไรกลับมา


หุ้นคือการที่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง นำสิทธิความเป็นเจ้าของร่วมและการมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยมีการเพิ่มทุนในการจดทะเบียน และนำเงินส่วนนั้นมาแบ่งขายสิทธินี้ให้กับนักลงทุน ซึ่งมูลค่าหุ้นที่นักลงทุนถืออยู่จะขาดทุนหรือกำไรไปตามผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ กำไรหรือขาดทุนส่วนนี้จะส่งผลต่อผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล


การได้เงินจากหุ้นจะมีอยู่สองแบบด้วยกัน คือการซื้อขายหุ้นคือซื้อหุ้นมาและขายต่อในราคาที่แพงกว่าเพื่อเอากำไร กับการกินเงินปันผล เน้นซื้อเก็บไว้ เมื่อบริษัทที่เราซื้อหุ้นได้ผลกำไรดีจะทำให้เราได้เงินปันผลเยอะตามไปด้วยนั่นเอง โดยวิธีนี้จะใช้เวลานานกว่าเป็นการลงทุนระยะยาวนั่นเอง


ลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์

การลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนที่ใช้เงินสูงมาก และบางครั้งอาจต้องใช้ตัวช่วยเป็นการกู้เงินจากธนาคารเพื่อให้ได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นตัวกลางในการทำเงินของเราสักหลัง อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งในปัจจุบันคือ คอนโดที่นอกจากคนเจนปัจจุบันจะหันมาอยู่คอนโดกันมากที่สุดแล้ว คอนโดยังถูกซื้อมาเพื่อปล่อยให้เช่า หรือขายต่อในราคาที่สูงกว่าก็มีเช่นกัน


จะเห็นได้ว่า Passive Income นั้นดูสะดวกสบาย ไม่ต้องลงแรงทำงานนอนอยู่ที่บ้านเฉยๆ เงินก็เข้าบัญชี แต่ความจริงแล้วกว่าจะมี Pasive Income สักช่องทางนั้นต้องใช้การทำงานอย่างหนักหรือเงินสักก้อนใหญ่หนึ่งก้อนก่อนเพื่อเปิดช่องทางนั้น เงินก้อนใหญ่นั้นถ้าไม่ได้ไปกู้จากไหนมา ก็ต้องเป็นเงินที่เราได้จากการลงน้ำพักน้ำแรง นั่นคือ Active Income นั่นเอง อาจกล่าวได้ว่า จะมี Passive Income ได้ ต้องเริ่มจากทำ Active Income


ในบทความหน้า Esto จะนำเสนอเรื่องราวการวางแผนการเงินรับมือกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน หรือการรัดเข็มขัดให้กับการเงินนั่นเอง จะมีเนื้อหาอย่างไรบ้างต้องติดตามอ่าน


ชุดบทความ Money Things

Money things: อิสรภาพทางการเงิน = อิสรภาพตามใจเรา

Money things: หลากหลายช่องทางรายรับที่เราเลือกได้มากกว่าหนึ่ง

Money things: รัดเข็มขัด กอดความปลอดภัยด้วยการวางแผนการเงิน

Money things: รู้ไว้ใช่ว่า เรื่องเงินๆ ทองๆ

Money things: ว่าด้วยเรื่องเงินฉุกเฉิน


บทความที่น่าสนใจ

Gen Y หนี้เยอะกว่าทุกรุ่น! แบงก์เป็นห่วงเตรียมคุมหนี้ด้วยมาตรการนี้!?

สมัครบัตรเครดิตเงินเดือน 15,000 เพิ่งเริ่มทำงานจะสมัครบัตรไหนได้บ้าง ไปดูกัน!

โหลดเลย! 7 แอพเก็บเงิน ตัวช่วยวางแผนการเงินสำหรับมือใหม่หัดออม

เพลิดเพลินแถมประหยัดกับการ Re-grow ผักสวนครัว

จับเทรนด์สี Pantone 2020 มาแต่งห้องใหม่ให้สวยปิ๊ง


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์