รูปบทความ รวมเรื่องของหลอดไฟ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

รวมเรื่องของหลอดไฟ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

เชื่อว่าใครหลายๆ คน ที่อยู่บ้านหรือคอนโดต้องเคยเจอปัญหาเกี่ยวหลอดไฟเสีย จำเป็นต้องรอช่างหรือขอให้คนอื่นมาช่วยตลอด

แต่การเปลี่ยนหลอดไฟนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด

เริ่มด้วยการมาทำความรู้จักชนิดของหลอดไฟ กันก่อน ..

เพราะหลอดไฟมีให้เลือกหลายชนิด เราจึงควรรู้จักชนิดของหลอดไฟในแบบต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าหลอดไฟที่เราใช้อยู่มีอะไรบ้างและมีความเหมาะสมในการใช้งานอย่างไร


หลอด Incandescent หรือ หลอดไส้

หลอดไส้ เป็นประเภทหลอดไฟที่เราใช้กันมานานมากที่สุด ภายในหลอดเป็นไส้ที่ทำจากทังสเตน ซึ่งให้กำลังไฟที่ต่ำ แต่ให้ความร้อนสูงมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 100-400 องศาเซลเซียส ทำให้กินไฟมาก และมีอายุการใช้งานน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับหลอดชนิดอื่น


หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือ หลอดนิออน

หลอดฟลูออเรสเซนต์ เริ่มกันใช้ตั้งแต่ ปี 1940 จนถึงปัจจุบัน อายุเฉลี่ยการใช้งานอยู่ที่ 2 ปี มีหลายขนาด เป็นหลอดที่นิยมนำมาใช้งานในที่พักอาศัย เพราะมีราคาไม่สูง หลอดไม่ร้อน และมีอายุการใช้งานที่นานมากกว่าหลอดไส้


โดยไส้หลอดจะเป็นทังสเตนหรือวุลแฟรม เมื่อเปิดวงจรจะทำให้เกิดความร้อนและการทำงานร่วมกันกับบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ จึงจะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น


หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent)

หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หรือที่เรียกกันว่า หลอดประหยัดไฟนั้น เป็นหลอดไฟที่มีหลักการทำงานเหมือนกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แต่กินไฟน้อยกว่าถึง4เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดใส้ประมาณ 8 เท่า


มีทั้งแบบหลอดตะเกียบ หลอดเกลียว นิยมนำมาใช้ในบริเวณที่ต้องการเปิดไฟทิ้งไว้นาน ๆ เช่น เป็นบริเวณหน้าบ้านหรือระเบียงคอนโด


หลอดไฟ Light Emitting Diode หรือหลอด LED

หลอด LED จุดเริ่มต้นมากจากการเป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเปล่งแสงสว่างเมื่อให้กระแสไฟผ่านตัวมัน และเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแส ไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับหลอดไฟ


หลอด LED มีจุดเด่นหลายอย่าง คือ ใช้พลังงานต่ำแต่ให้ประสิทธิภาพการส่องสว่างที่สูง ไม่มีแสง UV สามารถเปิด-ปิดได้บ่อยครั้ง ไม่เสื่อมสภาพไปตามจำนวนการกดสวิตช์


แถมยังช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 70% เมื่อเทียบกับหลอดไส้แบบเดิม และมีอายุการใช้งานที่นานถึง 50,000 ชั่วโมง หรือประมาณ 5 ปี ขึ้นไป แต่หลอดไฟ LED มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าหลอดไฟทั่วไป


นอกจากรู้จักชนิดของหลอดไฟประเภทต่างๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ เรื่องโทนสีของแสงจากหลอดไฟ เพราะแสงนั้นมีผลกับอารมณ์และประสิทธิภาพในการมองเห็น


อุณหภูมิสี ของแสงจากหลอดไฟมีหน่วยเป็นเคลวิน (Kelvin) โดยอุณหภูมิสีจะบอกเราได้ว่าแสงที่ได้มีความขาวบริสุทธิ์มากน้อยแค่ไหน


โดยทั่วไปแสงของหลอดไฟ มีให้เลือก 3 โทนสี ได้แก่

  • Warm white เป็นสีโทนร้อน จะให้แสงสีแดงอมส้ม หรือขาวอมเหลือง เหมาะสำหรับการสร้างบรรยากาศให้ดูอบอุ่นและเป็นกันเอง โดยค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 2,700 – 3,300 เคลวิน
  • Cool white เป็นสีโทนเย็น แสงออกมาทางสีขาว ดูแล้วสบายตา นิยมใช้กันในร้านค้าต่างๆ เพื่อช่วยให้สีสันของสินค้าดูสดใส โดยค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,000 – 4,500 เคลวิน
  • Daylight ให้แสงสีขาวอมฟ้านิดๆ แต่ใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติในช่วงกลางวัน โดยค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 6,500 เคลวิน ขึ้นไป 


ตรวจสอบและสังเกตุอาการ เมื่อพบหลอดไฟมีปัญหา

หลอดไฟเสียอาจเกิดจากหลายสาเหตุดังนั้นเราจะต้องสังเกตุอาการ เพื่อจะได้แก้ให้ตรงจุด เพราะปกติส่วนประกอบภายในหลอดไฟมีหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วน คือ ตัวหลอดไฟ สตาร์ตเตอร์ บัลลาสต์ ซึ่งมีวิธีการสังเกตหรือตรวจสอบ เช่น


อาการหลอดสั่น หรือ กะพริบตลอดเวลา

อาจเกิดจากสตาร์ทเตอร์เสีย หรือถ้าเป็นหลอดใหม่ บางทีซื้อมาใหม่ๆ จะกะพริบถี่มาก ให้ปล่อยทิ้งไว้ใช้งานสักพักแล้วอาการจะหายไปเองหรือเมื่อไฟตกมาก ทำให้แรงดันไฟฟ้าต่ำ หลอดก็จะกะพริบ ดังนั้นจะแก้ไขได้โดย ซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าที่เรียกว่าหม้อแปลงออโต้เมติก โดยเลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้


ใช้เวลานานกว่าหลอดจะติด

อาจเกิดจากสตาร์ทเตอร์เสื่อมหรือหลอดเสื่อม ถ้าสังเกตว่าขั้วหลอดเริ่มดำ ต้องเปลี่ยนหลอดใหม่


มีเสียงดังเวลาเปิด

อาจเกิดจากหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้นานๆ แล้วเปิดใช้จะเกิดเสียง แต่ปกติ 2-3 ชั่วโมงก็จะหาย แต่บางหลอดเปิดไปนานๆ ก็ยังไม่หาย ต้องเปลี่ยนบัลราตเพราะเสียงน่าจะเกิดจากแกนเหล็กของบัลราตหลวม


ขั้วหลอดดำ

อาจเกิดจากหลอดที่ใกล้หมดอายุ แต่ถ้าเพิ่งเปิดใช้แล้วเป็นอาจเกิดจากการลัดวงจรในบัลราต ต้องเปลี่ยนบัลราตใหม่


การเปลี่ยนหลอดไฟด้วยตัวเอง

การเปลี่ยนหลอดไฟ

เพื่อความปลอดภัยควรปิดไฟก่อนทำทุกครั้งหรือสับคัทเอาท์ลงก่อนเพื่อไม่ให้มีกระแสไฟขณะเปลี่ยนและถ้าหลอดไฟอยู่สูงก็อาจจะต้องหาบันไดหรือเก้าอี้ที่มั่นคงมาใช้ 

  • การเปลี่ยนหลอดแบบขาทั่วไปหมุนหลอดไปมาให้ขาหลุดออกจากล็อคแล้วค่อยดึงลงมาเพื่อเปลี่นอันใหม่เข้าไป โดยหมุนให้เข้าที่
  • การเปลี่ยนหลอดแบบขาสปริง ตรงขั่วหลอดจะเหมือนกับหลอดแบบขาทั่วไป โดยให้ดันไปข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงดึงลงมา เปลี่ยนหลอดใหม่เข้าไป 


การเปลี่ยนบัลราต

การเปลี่ยนบัลราตควรปิดสวิตซ์ไฟก่อนถอดฝาครอบออกจะเห็นบัลราตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้ถอดขั้วต่อสายบัลราตด้วยการใช้ไขควงปากแบนแล้วดึงสายออก จากนั้นก็ไขเอาบัลราตออกมา นำตัวใหม่มาเปลี่ยน


การเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์

ให้ถอดสตาร์ตเตอร์ของเดิมออกมาก่อน หมุนเอาสตารท์เตอร์ ออกจากล็อค แล้วใส่อันใหม่กลับเข้าไป โดยหันด้านที่มีขั้วเสียบเข้าไปในช่องเดิมแล้วหมุนให้แน่น


อ่านถึงตรงนี้น่าจะช่วยให้การเปลี่ยนหลอดไฟของใครหลายคนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เราสามารถที่จะเปลี่ยนหลอดไฟด้วยตัวเอง และเลือกประเภทของหลอดไฟให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานและความเหมาะสมได้


แต่ถ้าหลอดเสียหรือมีอาการที่อันตรายเกินกว่าเราจะเปลี่ยนเองได้ ก็ควรติดต่อช่าง หรือแจ้งทางคอนโด ให้มาแก้ไขให้ ก็เพื่อความปลอดภัยของเราเอง ...


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 ทริค เลือกโคมไฟให้เข้ากับพื้นที่ภายในคอนโดฯ

10 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุอัคคีภัยในคอนโด ให้ 'ไฟไหม้' เป็นเรื่องใหญ่ 'ที่รับมือได้'

แนะนำการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าคลายร้อน ประหยัดพลังงานทำได้ง่าย

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการปิดไฟ 1 ชั่วโมง ...ช่วยโลกได้อย่างไรบ้าง ?


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์