รูปบทความ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม โรคขังตัวเองอยู่ในห้องที่มนุษย์คอนโดต้องรู้!

ESTOPOLIS | ฮิคิโคโมริ ซินโดรม โรคขังตัวเองอยู่ในห้องที่มนุษย์คอนโดต้องรู้!

หลายคนอาจจะเคยได้ยิน "โรคซึมเศร้า" กันมาบ้าง วันนี้ Estopolis จะขอนำเรื่องราวของอีกโรคที่ควรรู้ โดยเฉพาะคนที่อยู่คอนโดคนเดียวเพียงลำพัง แล้วมีโรคอะไรที่น่ากลัวกว่าโรคซึมเศร้าอีกหรือ? 


คุณเคยมีอาการหรือรู้สึกอยากจะตัดขาดตัวเองออกจากสังคมภายนอก และขังตัวเองอยู่ในห้องในคอนโดตามลำพังบ้างหรือไม่ หากคุณเป็นหนึ่งในมนุษย์คอนโดที่มีอาการชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวในคอนโดอยู่บ่อยครั้ง ควรเริ่มพึงระวังว่าตัวเองกำลังมีอาการป่วยของคนเป็นโรคเก็บตัวหรือที่เรียกว่า “ฮิคิโคโมริ ซินโดรม” ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การเกิดโรคทางจิตเวชได้ในอนาคต


ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) เป็นคำอธิบายถึงพฤติกรรมของคนที่ชอบเก็บตัว พยายามแยกตัวเองออกจากสังคม และไม่ชอบพบปะผู้คน รวมถึงอาจไม่พูดคุยกับผู้อื่นเลยเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าพยายามทำตัวให้หายไปจากโลกความจริง ที่ผ่านพบผู้ที่มีอาการฮิคิโคโมริได้มากในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสภาพสังคมและระบบการศึกษาที่ค่อนข้างเคี่ยวเข็ญให้คนในสังคมมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้คนญี่ปุ่นหลายๆ คนเกิดความกดดันจนต้องการที่จะหลีกหนีออกจากสังคม โดยการเก็บตัวอยู่ในห้อง เพื่อที่ต้องการจะหลุดพ้นจากสภาวะกดดัน


70-80 % เป็นผู้ชาย เดิมผู้ป่วยโรคนี้จะมีอายุเฉลี่ย 15 ปี
แนวโน้มคนเป็นโรคนี้มีอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีอายุเฉลี่ยที่ประมาณ 32 ปี 


ในปัจจุบันโรคเก็บตัวสามารถพบได้มากขึ้นในคนเมืองที่อาศัยอยู่ในมหานครหรือเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น กรุงเทพฯ ได้เช่นกัน เนื่องจากสภาพสังคมเมืองในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหา ทั้งรถติด ฝุ่นควันมนพิษ และเพื่อนร่วมสังคมที่ไม่เป็นมิตร ทำให้คนเมืองหลายคนชอบที่จะเก็บตัวอยู่ในห้องหรือคอนโดเงียบๆ คนเดียว นอกจากนี้สภาพการอยู่อาศัยของคนเมืองที่ส่วนใหญ่พักอาศัยตามคอนโดหรือห้องเช่า ซึ่งทำให้ไม่ได้พบปะพูดคุยกับผู้อื่นมากนัก จึงอาจทำให้เกิดอาการของฮิคิโคโมริที่หนักขึ้นจึงถึงขึ้นอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นได้



สาเหตุของโรคเก็บตัว

สำหรับสาเหตุของอาการหรือพฤติกรรมนี้ยังไม่แน่ชัดมากนัก แต่จิตแพทย์และนักจิตวิทยาหลายคนที่เคยให้การรักษาหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีอาการดังกล่าว ได้บอกถึงสาเหตุที่น่าจะเป็นต้นตอที่ทำให้คนปกติคนหนึ่งกลายเป็นคนที่มีอาการของฮิคิโคโมริ ว่าอาจจะเกิดจาก



• ความผิดหวังจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้เกิดความผิดหวังและโทษตัวเอง จึงใช้วิธีขังตัวเองอยู่ในห้องตามลำพังเพื่อหนีความผิดหวังนั้น



• แรงกดดันจากสังคมและคนรอบข้าง ทำให้เกิดความเครียดสะสม จนเกิดเป็นความเบื่อหน่ายที่จะต้องพบปะผู้คนและรับแรงกดดัน จึงเลือกที่จะอยู่ในห้องเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ไม่ต้องรับแรงกดดันจากผู้คนรอบข้าง


• แตกต่างหรือโดดเด่นกว่าคนอื่น ซึ่งความแตกต่างหรือโดดเด่นนั้น อาจทำให้รู้สึกถูกมองหรือถูกล้อเลียนอยู่บ่อยครั้ง จนสูญเสียความมั่นใจและรู้สึกแย่ จึงเลือกที่จะแยกตัวออกจากสังคมเพื่อหนีปัญหา


ปัจจุบันญี่ปุ่นมีผู้ป่วยโรคนี้ถึงกว่า 1 ล้านคน ที่สำคัญ โรคนี้รักษาได้ยากมาก



อาการของโรคเก็บตัว


อาการของคนที่เป็นโรคเก็บตัว "ฮิคิโคโมริ" จะไม่แสดงให้ออกให้เห็นความผิดปกติทางร่างกายแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดกับจิตใจ โดยทั่วไปคนที่เป็นโรคเก็บตัวจะแสดงพฤติกรรมที่ชอบเก็บตัวอยู่ในห้อง อยู่ในคอนโดเงียบๆ คนเดียว ไม่ออกไปเรียน ไม่อยากไปทำงาน ไม่ออกไปท่องเที่ยว หรือแม้แต่ไม่พูดคุยกับคนอื่น แต่จะเอาเวลาส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องของตัวเองเพื่อเล่นเกมส์ ดูหนัง อ่านการ์ตูน หรือแค่นั่งเฉยๆ เพื่อพยายามทำให้ตัวเองรู้สึกว่าถูกตัดขาดจากโลกภายนอกและไม่ต้องทนรับแรงกดกันหรือความเครียดใดๆ อีกต่อไป ซึ่งหลายๆ คนอาจจะคิดว่าแค่การเก็บตัวอยู่แต่ในห้องอาจไม่มีผลเสียอะไรมากนัก แต่อันที่จริงแล้วหากปล่อยให้มีอาการฮิคิโคโมรินานๆ ไปอาจจะทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งจัดเป็นอาการป่วยทางจิตเวช ที่สามารถส่งผลทางอารมณ์อย่างรุนแรงให้ผู้ป่วยเกิดภาวะความผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงได้


การรักษาอาการโรคเก็บตัว

เนื่องจากโรคเก็บตัวเป็นอาการที่เกิดจากการได้รับผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ดังนั้นการรักษาจึงควรเริ่มที่การรักษาสภาพจิตใจเป็นอันดับแรก โดยผู้ที่มีอาการเองควรจะต้องเริ่มที่จะคิดบวกมากขึ้น พยายามหากิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น หาเพื่อนสักคนที่พูดคุยกันได้ในทุกเรื่อง หรือออกไปเที่ยวพักผ่อนในที่ต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้คนรอบข้างของคนที่มีอาการฮิคิโคโมริ ก็ควรที่จะหมั่นให้กำลังใจ และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะทำให้ผู้ที่มีอาการรู้สึกกดดันมากขึ้น แต่หากพบว่าผู้ป่วยเป้นโรคเก็บตัวมีอาการหนักมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า ก็ควรที่จะเข้าพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

            

แม้ว่าสถิติของโรคเก็บตัวในประเทศไทยจะไม่สูงและยังไม่ปรากฎให้เห็นมากนัก แต่การป้องกันและระวังไม่ให้เกิดโรคนี้กับตัวเราเองจึงสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในคอนโดคนเดียวควรสำรวจอาการโรคเก็บตัวที่ทาง Estopolis นำมาเล่าให้ฟังและเมื่อพบหรือสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคเก็บตัวควรรีบหาวิธีแก้โดยด่วน ไม่ว่าจะด้วยสังคมที่เร่งรีบ การทำงานที่ต้องแข่งขันกับเวลาหรือ KPI การรีแลกซ์ หากิจกรรมต่างๆ ทำในเวลาว่างหรือวันหยุด จะช่วยผ่อนคลายและทำให้เราห่างใกล้จากโรคเก็บตัวนี้ได้และที่สำคัญไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าอีกด้วย



ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://www.pinterest.com

http://jpninfo.com/tw/1761

https://culturacientifica.com 

http://www.orchardtimes.com

http://www.bangkokbiznews.com 

http://news.voicetv.co.th

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์