COVID - 19 ฉบับย่อยง่าย
6 March 2563
ณ ตอนนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักเชื้อไวรัส COVID - 19 หรือเชื้อไวรัสโคโรน่า ที่กำลังระบาดอย่างหนักทั่วโลก หลายคนก็เริ่มเฝ้าระวัง หาวิธีการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ เพราะโรคนี้ สามารถอันตรายถึงชีวิตได้
แต่ก่อนที่เราจะป้องกันเจ้าไวรัสตัวนี้ เราควรที่จะมาทำความรู้จักมันอย่างถ่องแท้เสียก่อน เพื่อที่จะได้หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลตัวเอง วันนี้ ESTO+ รวบรวมข้อมูลฉบับย่อยง่าย มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจและรู้จักไวรัส COVID - 19 ให้ดียิ่งขึ้น
เชื้อไวรัส COVID - 19 คืออะไร
เชื้อไวรัส COVID - 19 หรือที่มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า เชื้อไวรัสโคโรน่า มีต้นกำเนิกมาจากมณฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน เริ่มระบาดในช่วงเดือน พฤศจิกายน ปี 2562
- เป็นเชื้อไวรัสที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ปัก
- เป็นไวรัสที่มีเปลือกเป็นไขมันหุ้ม (enveloped virus)
- เป็นไวรัสชนิดRNA ขนาดใหญ่ สามารถติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ เช่นเดียวกับโรคที่เคยระบาดในอดีตเช่น ไวรัสซาร์ส ไวรัสเมอร์ส
การแพร่กระจายจากคนสู่คน
จะสามารถแพร่ได้ผ่าน
- ละอองฝอยของเชื้อ ผ่านทางการไอ จาม เหมือนโรคไข้หวัด (Droplets Transmission)
- สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง แล้วมาสัมผัสบริเวณจมูก ปาก ตา (Contacts Transmission)
วิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID - 19
ประชาชนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก ด้วยมือ
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือแอลกอฮอล์ (แอลดอฮอล์ต้องมีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 60%) *โดยเฉพาะหลังจากไอจาม, ก่อนสัมผัสบริเวณหน้า, หลังเข้าห้องน้ำ, ก่อนรับประทานอาหาร)
- สวมใส่หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคนที่มีโอกาสได้รับเชื้อ เช่น ทำงานในพื้นที่เสี่ยง (สนามบิน โรงพยาบาล) หรือมีโอกาสที่จะไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น คนที่กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง, คนที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยง
- เฝ้าระวังตนเอง อย่างน้อย 14 วัน เพื่อดูอาการ
- หากมีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ควรไปพบแพทย์ ซึ่งในระหว่างเดินทางให้ สวมใส่หน้ากากอนามัย, เดินทางด้วยรถส่วนตัว เมื่อไปถึงโรงพยาบาล แจ้งประวัติการเดินทางตามความเป็นจริง เพื่อที่จะได้คัดแยกไปที่จุดแยกโรคของแต่ละโรงพยาบาล
วิธีใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง
- ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- หันด้านที่มีสีเข้มออกทานด้านนอก เนื่องจากมีสารเคลือบกันละอองของเหลว ป้องกันเชื้อโรค
- ด้านสีอ่อนอยู่ด้านใน เนื่องจากมีแผ่นกรองขนาดเล็ก กรองสารคัดหลั่งจากตัวผู้สวมใส่ไม่ให้แพร่กระจายให้คนอื่น
- กดลวดให้แนบชิดกับจมูก
- ดึงหน้ากากให้ครอบคลุม จมูก ปาก จนถึงคาง
- เมื่อถอดหน้ากาก ม้วนด้านในเข้าให้มิดชิดเมื่อทิ้ง
- ทิ้งในถังขยะสีแดง หรือถังขยะประเภทติดเชื้อ
อ้างอิงข้อมูลจาก
อ.ดร.พญ. วรรษมน จันทรเบญจกุล
ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย