รูปบทความ จุดเริ่มต้นของ Climate Change เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร

จุดเริ่มต้นของ Climate Change เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร

นับตั้งแต่มนุษยชาติได้ถือกำเนิดจนมาถึงปัจจุบันที่เราได้ตระหนักรู้กันถึงการสร้างภาระต่างๆ ให้โลกและสิ่งแวดล้อมต้องแบกรับมา เราผ่านจุดใดกันมาบ้างและทำไมถึงก้าวมาได้ในจุดที่โลกกำลังจะไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับคนอีกต่อไป การเดินทางแบบไหนที่ทำให้เราต้องกลับมาแก้ไขปรับให้ชีวิตของเราได้ทำเพื่อโลกกันมากขึ้น


พวกเราแสวงหาความสะดวกสบายกันมาตั้งแต่เริ่มมีเผ่าพันธุ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร มันเป็นธรรมชาติของเราที่ต้องการความสบายกันอยู่แล้ว เพียงแต่ในเวลานั้นเราอาจจะก้าวเร็วเกินไปจนลืมนึกถึงสิ่งที่เหลือทิ้งไว้ข้างหลัง


วันนี้ Esto จึงพาทุกคนมาย้อนรอยว่าเราเริ่มสร้างภาระให้กับโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รู้ตัวกันตั้งแต่ตอนไหนบ้าง


จุดริเริ่มของยุคอุตสาหกรรม

หากเราพูดถึงการสร้างมลภาวะหรือภาระให้สิ่งแวดล้อม อาจจะต้องเริ่มกันตั้งแต่ตอนที่เรารู้จักการใช้ไฟในการสร้างแสงสว่างและปรุงอาหาร แต่ขณะนั้นภาระที่เราสร้างขึ้นไม่ได้สร้างงานให้กับโลกมากนัก ด้วยกลไกของโลกแล้วสามารถหมุนเวียนอากาศใหม่เข้ามาแทนที่ได้เสมอ เพราะส่วนที่ถูกทำลายไปยังมีน้อยกว่าส่วนที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นั่นเอง


แต่เมื่อเราเริ่มมีการพัฒนาเครื่องทุ่นแรง สิ่งสร้างความสะดวกสบายต่างๆ โลกเริ่มไปเร็วมากขึ้น และพาทุกคนเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตในโลกเกษตรกรรม เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม



ในช่วงปี 1760-1850 ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เนื่องจากผู้คนเริ่มมีการใช้เครื่องจักรมาทุ่นแรง มีการใช้เครื่องจักรไอน้ำ หรือเครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ที่ทำให้ผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ไม่ต้องใช้แรงงานของคนอีกต่อไป ผู้คนส่วนใหญ่จึงเข้าสู่การเป็นพ่อค้าแม่ขาย ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ และเมื่อบวกกับเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างสงบสุข จึงมีประชากรเพิ่มมากขึ้นถึง 6 เท่า


นี่คือจุดเปลี่ยนแรกของสิ่งแวดล้อมที่เราเริ่มรู้จักการสร้างมลภาวะให้กับโลกมากขึ้น โดยที่ในตอนนั้นโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 13 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่ก็ปฏิเสธกันไม่ได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของโลกจริงๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราเข้าสู่การปฏิวัติอุสาหกรรมครั้งที่ 2


ในครั้งที่ 2 เราเริ่มมีการสร้างพลังงานไอน้ำจากถ่านหินซึ่งใช้สร้างไฟฟ้าได้ และยังเริ่มใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน เรียกว่าเป็นการกระจายการสร้างมลภาวะจากโรงงานขนาดใหญ่สู่ระดับบุคคล โลกเราจึงเริ่มไม่สามารถหมุนเวียนสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาทดแทน ยิ่งต้องรองรับการเกิดของผู้คนจำนวนมากทำให้ธรรมชาติถูกทำลายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเราสร้างพัฒนาการของเรา แต่ทำลายพัฒนาการของโลกอย่างแท้จริง


พลังทำลายล้างของอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อม

ความจริงแล้วในช่วงปี 1938 มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่เริ่มตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานมหาศาลที่เราทำนั้นจะส่งผลต่อโลกได้อย่างไรบ้าง และยังเป็นเจ้าของทฤษฎีโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็คือ Guy Stewart Callendar แต่ตอนนั้นทุกคนยังคงโต้เถียงกันว่ามันเป็นจริงตามทฤษฎีหรือไม่



จนกระทั่งมีการพิสูจน์การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในปี 1960 ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน Charles Keeling ก็เริ่มมีการคาดการณ์ต่างๆ และในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มมองเห็นปัญหาโลกร้อน ที่สร้างปัญหาอื่นๆ ตามมาเช่น ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจนท่วมชายฝั่งเพราะน้ำแข็งละลายมากขึ้น


ต่อจากนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์มากมายที่ออกมาบอกถึงผลกระทบของปัญหาโลกร้อน ซึ่งหลายข้อก็เกิดขึ้นจริงแล้วในวันนี้ การเดินทางเพื่อพิสูจน์ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เราได้ทำร้ายโลกใช้เวลากันถึง 50 ปีเลยทีเดียวกว่าทั่วโลกจะเริ่มรับรู้และร่วมกันแก้ไขปัญหา มีการลงนามในอนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารมอนทรีออล และมีการจัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในระดับนานาชาติอีกมากมาย


มรดกพันปีจากเราสู่ลูกหลาน

ผลกระทบครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี 1998 คือการเกิดซูเปอร์เอลนีโญ ที่ไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นควบคู่กับลานีญา หลังจากเกิดเอลนีโญ ก็จะเกิดลานีญาตามมา เอลนีโญจะทำให้เกิดสภาพอากาศเลวร้ายเช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือการแปรปรวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคทั่วโลก ส่วนลานีญาจึงตรงข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งทั้งสองอย่างล้วนไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตทั้งสิ้น


แม้มีการคาดการณ์ว่าปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุก 5 ปี แต่ความจริงเราก็ยังสามารถสัมผัสกับความแปรปรวนนี้ได้อย่างชัดเจน พร้อมกับอุณหภูมิที่เพิ่มมากขึ้นโดยในเดือนมิถุนา 2019 อยู่ที่ 15.5 องศาเซลเซียสแล้ว


สร้างมา 200 ปีจะปรับเปลี่ยนให้เหมือนเดิมคงไม่สั้นกว่า 20 ปีอย่างแน่นอน


สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นตลอด 200 ปีที่ผ่านมากำลังเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน กระทบทั้งด้านสภาพอากาศและทรัพยากรที่กำลังจะหมดไป นี่คือมรดกที่เราส่งต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้จึงเป็นทางเลือกของเราว่า สิ่งที่ส่งต่อไปในอนาคตนั้นจะเป็นโลกแบบไหน ให้ลูกหลานของเราได้อาศัยอยู่


บทความที่น่าสนใจ

"3 ไอเท็มเด็ด" ช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5

ผลวิจัยเผย ปี 2050 กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ?

เมื่อฉันต้องอยู่กับพวกเขา เหล่า PM 2.5 ในวันนี้ ควรทำอย่างไรดี?

รวม 5 แอร์ลด PM 2.5 ป้องกันฝุ่น ใช้แล้วอยู่ห้องปลอดภัยมากขึ้น

รวม 3 วิธีลด PM 2.5 กำจัดฝุ่นในคอนโดเพื่อความปลอดภัยในห้อง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์