ทำความรู้จักกับภาวะภัยแล้ง เขามาได้อย่างไร
16 March 2563
ในทุกปีเรามักจะได้ยินข่าวเรื่องของภัยแล้งมาเยือนกันอยู่ทุกปี เรียกว่าเป็นปัญหาประจำปีที่มาจรเป็นเพื่อนสนิทกันไปแล้ว เพราะสาเหตุหลายประการที่เกี่ยวข้องกับ Climate change หรือสภาพอากาศแปรปรวน
วันนี้ Esto จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภัยแล้ง ภาวะน้ำแล้ง ที่มาเยือนเรากันทุกปี เขามาเพราะอะไรกันบ้าง
สภาพการณ์ปัจจุบันของภัยแล้ง
ความจริงแล้วภาวะขาดน้ำเกิดขึ้นทั่วโลก เรามีประชากรโลกที่ต้องประสบกับภาวะนี้อยู่มากถึง 1,000 ล้านคนและอีก 2,700 ล้านต้องขาดแคลนน้ำใช้อย่างน้อย 1 เดือนต่อปี ซึ่งเป็นสภาพวิกฤตระดับโลกที่แม้ส่วนใหญ่ของโลกจะประกอบด้วยน้ำ แต่ดันไม่ใช่น้ำที่สามารถดื่มหรือนำมาใช้ได้
เราจึงสูบน้ำจากบาดาลขึ้นมาใช้ซึ่งในระหว่างปี 1961-2014 เราเพิ่มปริมาณการสูบน้ำและนำน้ำจากพื้นผิวดินขึ้นมาใช้กันถึง 2.5 เท่าเลยทีเดียว เพราะประชากรที่เพิ่มขึ้น การใช้น้ำทั้งสำหรับการเพาะปลูก อุตสาหกรรม ปศุสัตว์และในครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากเรื่องการใช้น้ำที่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแล้ว ยังมีความขัดแย้งสู้รบที่แย่ยิ่งขึ้นในพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำจำกัดอย่างมาก อย่างอิสราเอล ลิเบีย เยเมน อัฟกานิสถาน ซีเรียและอิรัก
สำหรับประเทศไทยเราจะได้เจอภาวะภัยแล้วกันอยู่ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงปลายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรและประชาชนบางส่วนจะได้รับผลกระทบต้องใช้น้ำอย่างจำกัด ทำให้ผลผลิตลดลงส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจต่อไป
สาเหตุของภัยแล้ง
ภัยแล้งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพราะ Climate Change ซึ่งมีปัจจัยหลักๆ ดังนี้
การหายไปของต้นไม้ซึ่งเป็นต้นน้ำ
ต้นไม้นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆ สำหรับโลกและสิ่งแวดล้อม แต่ต้นไม้กลับลดลงเรื่อยๆ เพราะการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้เราต้องการพื้นที่และทรัพยากรมากขึ้นจนเกิดการตัดต้นไม้ ทำลายพื้นที่ป่าขึ้น เมื่อวงจรของน้ำขาดไปส่วนหนึ่งจึงทำให้การเชื่อมต่อเสียสมดุล เกิดเป็นสภาพอากาศแปรปรวน
สภาพอากาศแปรปรวน
นอกจากการหายไปของต้อนไม้จะเป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุสภาพอากาศแปรปรวนแล้ว ยังมีส่วนสำคัญอีกอย่างนั่นคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินกว่าวิถีทางธรรมชาติจะฟื้นฟูตัวเองได้ทัน ทำลายชั้นโอโซน ยิ่งธรรมชาติหายไป ยิ่งคนปล่อยก๊าซเรือนกระจก โลกก็แสดงอาการสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอากาศร้อน น้ำที่มีอยู่ก็ระเหยเร็วมากขึ้น
การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
น้ำหายไปยังไม่พอ เพราะส่วนหนึ่งของน้ำเรายังต้องเอามาใช้ทำด้านอุตสาหกรรมเพื่อรองรับประชากร ซึ่งจากปี 2014 เราใช้น้ำมากกว่าปี 1961 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าโดยคิดเป็น 21% ของน้ำที่ถูกใช้ตลอดปี
คาดการณ์ถึงภัยแล้งในอนาคต
สำหรับปีนี้ประเทศไทยจะได้เจอกับภัยแล้งที่หนักที่สุดในช่วง 10 ปี ซึ่งอาจยาวนานกันถึงเดือนมิถุนายนกันเลยทีเดียวส่งผลให้ภาคการเกษตรเสียหายอย่างหนัก
ส่วนในระดับโลกก็จะได้พบกับปัญหาหนักขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยมีการคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำจืดของคนทั่วโลกจะมีมากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ถึง 40% ในปี 2030 โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์เอง
นอกจากภัยแล้ง จะเป็นหนึ่งในความแปรปรวนทางสภาพอากาศที่เราต้องเผชิญแล้วยังมีความเอาแน่เอานอนไม่ได้อีกมากที่จะได้เจอกันในช่วงอื่นๆ ของปีอีก เพราะมันคือส่วนหนึ่งของผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเรา
ที่มา
bbc.com/thai/international-43030805
bbc.com/thai/international-49250337
phrae.go.th/Disaster_phrae/doc/b0001.pdf
brandinside.asia/drought-hits-thai-significantly/
บทความที่น่าสนใจ
อิ่มที่เรา คลีนที่โลก กับบริการ Healthy Food Delivery ไอเดียดี “Indy Dish”
จริงไหม ? Fast Fashion = Fast Disaster เเล้วอะไรที่เรียกว่า Fast Fashion
ปรับและเปลี่ยน พลังงานที่ใช่ของโลกใบนี้ควรเป็นอย่างไร
5 พื้นที่เรียนรู้และเข้าร่วมการรักษ์โลก
สะสมมากว่า 100 ปีกับปัจจัยหลักที่ทำให้โลกฟื้นตัวได้ยาก