รูปบทความ ทิ้งจากมือเเล้วไปไหนต่อ ? สำรวจเส้นทางการทิ้ง “ขยะ” จากต้นจนถึงปลายทาง

ทิ้งจากมือเเล้วไปไหนต่อ ? สำรวจเส้นทางการทิ้ง “ขยะ” จากต้นจนถึงปลายทาง



เคยสังเกตไหมว่าในหนึ่งวันเราสร้างขยะไปกี่ชิ้น ? เเล้วขยะที่เราทิ้งลงถังบ้าง ไม่ลงถังบ้าง ปลายทางมันไปอยู่ไหน บรรดาเหล่านักเก็บขยะ เขาเอามันไปทำอะไรต่อ Esto+ จะพาทุกคนร่วมไปเเกะรอย “สำรวจเส้นทางการทิ้งขยะ จากต้นจนถึงปลายทาง” ในเเบบฉบับที่เข้าง่ายๆ มาฝากกันค่ะ 



ถ้าพูดถึงเรื่องขยะ อีกหนึ่งปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมเป็นอย่างมากนั้น หลายๆ คนคงทราบกันอยู่เเล้วว่า ประเทศไทยของเราติดอันดับ 5 ของโลก ย้ำว่าของโลก! ที่มีการปล่อยขยะลงสู่ทะเล รองจากประเทศจีน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม ซึ่งมีปริมาณขยะกว่า 8 ล้านตันที่เป็นพลาสติกจากจำนวนขยะทั้งหมดกว่า 1 หมื่นตัน 




ในบทความนี้เราจะพูดถึงขยะทั้งหมดก่อนจะไหลสู่ท้องมหาสมุทร โดขอเจาะไปที่เมืองหลวงของประเทศ อย่าง กรุงเทพมหานคร เเหล่งผลิตปริมาณขยะจำนวนมากที่สุดของไทยที่ใน 1 วันมีปริมาณขยะราวๆกว่า 1 หมื่นตันที่มีต้นกำเนิดจากเมืองเเห่งนี้ เดินทางไปจนถึงเเหล่งทำลายขยะ โดยเส้นทางการเก็บ เเละกำจัดขยะนั้น รถเก็บขยะจะเริ่มขนย้ายขยะสารพัดสิ่งที่ปะปนกันอยู่ให้เเล้วเสร็จก่อน 05.30 น. จากนั้นก็จะนำไปสถานีเปลี่ยนถ่ายทั้ง 3 เเห่ง


  • สถานีถ่ายสายไหม (ปริมาณขยะประมาณ 2400 ตัน/วัน = 23%)
  • สถานีถ่ายหนองเเขม (ปริมาณขยะประมาณ 3400 ตัน/วัน = 26%) 


ซึ่งทั้ง 2 สถานีนี้จะถูกถ่ายโอนขยะ เเล้วนำไปฝังกลบที่กำเเพงเเสน จ.นครปฐม เเละขยะอีกประมาณ 500 ตัน/วัน หรือราว 5 % จะถูกนำไปเข้าเตาเผา 




  • สถานีถ่ายอ่อนนุช (ปริมาณขยะประมาณ 2600 ตัน/วัน = 25%)

ถูกนำไปฝังกลบที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งในการฝังในการขุดหลุมนั้น ต้องขุดลึกถึง 3 - 6 เมตร พร้อมกับใช้ดินถมกลบด้วยความหนาอีก 30 เซนติเมตร


โดยปริมาณขยะอีกประมาณ 1600 ตัน/วัน หรือราว 16% สามารถนำไปบดเเละหมัก ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในการปลูกต้นไม้ของกรุงเทพฯได้ เเละขยะปริมาณ 180 ตัน/วัน สามารถนำมารีไซเคิลได้ เเต่มันก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยนิดอยู่ดีเมื่อเทียบกับปริมาณขยะทั้งหมดเป็นหมื่นๆ ตันต่อวัน ที่ต้องกำจัดทิ้งโดยไม่สามารถนำไปทำประโยชน์ต่อได้เลย



เเล้วมันจะมีวิธีไหนไหม ? ที่สามารถนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากว่านี้ เเน่นอนค่ะว่า มี! เเละก็เป็นวิธีง่ายๆ อีกเช่นเคยที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง นั้นก็คือ “การเเยกขยะ” ซึ่งการเเยกขยะที่จะให้ได้ผลดีที่สุด เเละเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อโลก ต่อสิ่งเเวดล้อม จนไปถึงต่อพนักงานเก็บขยะ ที่เขาต้องคอยยืนเเยกขยะกับมือที่ไหลมาตามสายพาน เเถมยังต้องสูดดมกลิ่นที่เป็นพิษจากสิ่งสกปรกๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากเราเป็นห่วง เเละใส่ใจถึงคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองเเละพวกเขา ก็อย่าลืมช่วยกันทิ้งขยะด้วยการเเยกตามสีถังกันนะ เเต่หากไม่สามารถหรือไม่สะดวกในการเเยกจริงๆ ก็มีวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือการทิ้งขยะเเบบเเยกเป็น 2 ถัง

  • ถังที่เอาไว้ทิ้งขยะที่สกปรกๆ เช่น เศษอาหาร เศษผัก
  • ถังที่ขยะนั้นสามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น ขวด กล่องนม หลอด ถุงขนม


รักโลก เเค่ช่วยกันเเยก


เห็นไหมว่าเเค่การ “เเยก” สิ่งเล็กๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ เพื่อช่วยให้สิ่งเเวดล้อมของประเทศ รวมไปถึงโลกกลับมาอุดมสมบูรณ์ น่าอยู่ได้อีกครั้ง อย่ามัวรีรอ เพราะอาจสายไปเกินกว่าจะเเก้ไข เพียงเราร่วมมือกันคนละนิด ทำทีละหน่อย เเต่ทำเรื่อยๆ เป็นประจำทุกครั้งก่อนทิ้งขยะลงถัง ก็สามารถช่วยโลกของเราได้เเล้วล่ะค่ะ ^^



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์