มองหาโอกาสทางธุรกิจ ท่ามกลางสภาวะวิกฤต
10 April 2563
“ในวิกฤต ย่อมมีโอกาส” คำพูดสุดคลาสสิกที่ฟังจนคุ้นหู เเต่มันคงไม่มีผลอะไรจนมาถึงวันนี้ ที่เรากำลังตกอยู่ในสภาวะวิกฤตโคโรนาไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อใครหลายๆ คน ทั้งทางตรงเเละทางอ้อมเเละไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร
Esto+ ได้ทำการ Research หาข้อมูล และอยากชวนทุกคนมาขบคิดเเละหาลู่ทางใหม่ ผลิกวิฤตนี้ให้เป็นโอกาสในการทำธุรกิจ เพื่อให้เราทุกคนรอดพ้นไปด้วยกันทั้งตัวผู้ประกอบการเองเเละพนักงานลูกจ้าง
เมื่อเราไม่รู้ว่าวิกฤตนี้จะยุติกลับมาเป็นปกติเมื่อไร เเละนี่ก็เป็นระยะเวลากว่า 4 เดือนเเล้ว ที่คนไทยต้องเจอกับไวรัสโคโรนา เเละดำเนินชีวิตในท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก หลายต่อหลายบริษัท หรือผู้ประกอบการน้อยใหญ่เกือบทุกรายก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้
สิ่งเเรกที่จะช่วยเเก้ปัญหาเเละรับมือกับสถาการณ์นี้ได้ เริ่มจากผู้ประกอบการควรปรับมุมมอง ตั้ง Mindset เสียใหม่ จงสร้างความมุ่งมั่น เเละเชื่อว่าหลังวิกฤตย่อมจะต้องมีช่องทางที่ได้มาซึ่งกำไรเเละรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตั้งสติเเละบริหารจัดการทำอย่างไรกิจการถึงจะอยู่รอดเเละเติบโตต่อไปในภายภาคหน้าหลังสถานการณ์จบลง ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 4 กลยุทธ์การเอาตัวรอดเเละเติบโตต่อไปในภาวะวิกฤต
How to Survive & Grow up in crisis
กลยุทธ์เอาตัวรอดเเละเติบโตต่อไป
1. เงินสดคือสิ่งสำคัญที่สุด
ในขั้นตอนเเรกของการคิดเอาตัวรอดของผู้ประกอบการคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้มีรายจ่ายน้อยที่สุดเเละมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง (พนักงาน) ให้น้อยที่สุดเช่นกัน เพราะในสถานการณ์เช่นนี้เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากจะตกงานเเน่นอน จากที่ต้อง Lay off พนังงานออก ลองเปลี่ยนเป็นเพิ่มงานให้ทำดูไหม เช่น ธุรกิจร้านอาหาร จากที่เปิดให้บริการวันละ 8 ชั่วโมง ลองปรับเวลาให้บริการเป็น 24 ชั่วโมง พนักงานเองก็ไม่ต้องตกงานทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับตัวผู้ประกอบการเองอีกด้วย
เเละนี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดีในการจะเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ ผ่อนผันเรื่องค่าใช้จ่ายเงินกู้ เพราะตัวเจ้าหนี้เองคงไม่อยากให้ลูกหนี้หายไปไหนเช่นกัน เเละหากทรัพย์ชิ้นไหนที่สามารถขายได้ ไม่ได้เดือดร้อนในอนาคตก็ขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดเก็บไว้ในมือเป็นทุนสำรอง เพราะการมีเงินสดติดไว้กับตัวย่อมดีเสมอ
2. ปรับรูปเเบบธุกิจ
ข้อนี้คือการที่ทำอย่างไรก็ได้ให้เราสามารถรักษาฐานลูกค้าให้ได้ดีที่สุด นั่นคือการปรับรูปเเบบธุรกิจจากการให้บริการเเบบเดิมให้เอื้อต่อลูกค้าในสถานการณ์วิกฤติเเบบนี้ ตัวอย่างเช่น ในเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนไม่ค่อยมีเงินในการจับจ่ายใช้สอย เเต่ในฐานะสถานประกอบการเองก็ต้องดำเนินธุรกิจต่อไป อาจลองปรับลดขนาดของสินค้า เพื่อสามารถขายในราคาที่ถูกลงได้ หรือเปลี่ยนจากการให้บริการเเบบขายมาเป็นในรูปเเบบของการเช่า ผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ ไป เพื่อให้คงฐานลูกค้าเดิมเเละเปิดโอกาสให้ได้มาซึ่งลูกค้ารายใหม่ให้ได้ดีที่สุด ยิ่งเเบรนด์ไหนรักษาได้ดียิ่งได้เปรียบด้านรายได้ทั้งในขณะที่อยู่ในสถานการณ์วิกฤตเเละอาจได้กำไรมากขึ้นหลังจากวิกฤตยุติลง
3. เปลี่ยนวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส
วิกฤตในที่นี้หมายถึง “ลูกค้า” มองหา Pain Point ของลูกค้า เเละจงเปลี่ยนให้เป็นโอกาสของธุรกิจของเรา ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโรงเเรมที่เปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัว พร้อมบริการทุกอย่างอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น บริการอาหารครบทุกสามมื้อ เเละทำการฉีดฆ่าเชื้อไวรัสทุกซอกทุกมุมเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าโรงเเรมของเราปลอดภัยสำหรับการกักตัว 14 วันเเน่นอน หรือจะธุรกิจให้บริการชมภาพยตร์ - ซีรีย์ออนไลน์ อย่าง Netflix ที่ปรับราคาเหลือเดือนละ 99 บาท ให้เราได้รับชมกันอย่างจุใจในราคาที่ถูก เเต่มีเงื่อนไขว่าสามารถรับชมได้ผ่านเเอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ได้ทั้งลูกค้ากลุ่มใหม่เเถมยังรักษารายได้ไว้ได้อีกด้วย ส่วนร้านอาหารก็เร่งปรับให้บริการจัดส่ง Delivery ที่เเม้จะกักตัวอยู่เเต่บ้านก็สามารถทานได้ หรือแม้แต่เเบรนด์เนม อย่าง Louis Vuitton ที่ประเทศจีนก็มีบริการส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านทางแอป WeChat ในช่าวสถานการณ์โควิด-19 เช่นกัน
4. ปรับธุรกิจรองรับการเกิดขึ้นวิถีปฏิบัติใหม่หลังสิ้นสุดสถานการณ์วิกฤต
โดยเริ่มจากการวางเเผนกลยุทธ์ที่เป็นระบบตอบรับวิถีปฏิบัติใหม่ใหม่หลังสถานการณ์วิกฤตจบลง เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดระหว่างทาง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น อย่างธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร อาจปรับเเผนมีการให้บริการรูปเเบบที่ลูกค้าสามารถทำเมนูนั้นกินเองได้ผ่านการสั่งเเละส่งวัตถุดิบพร้อมสูตรอาหารถึงหน้าบ้านเหมือนได้กินอาหารจากการสั่งแบบสำเร็จรูป หรืออย่าง เเบรนด์ชุดชั้นในที่หยิบเอาวัตถุดิบที่ตนเองมีอยู่เเล้วมาทำหน้ากากผ้า เพื่อตอบสนองความต้องการเเละสินค้าที่กำลังขาดตลาด เเละรวมไปถึงการซื้อหุ้นเพื่อสร้างเเบรนด์ใหม่สำหรับนักลงทุนที่ต้องการมองหาโอกาสในการทำกำไรจากหุ้น เพราะในยามวิกฤตเเน่นอนว่าหุ้นย่อมตก หากเราฉวยโอกาสนี้ในการซื้อหุ้นเก็บไว้เพื่อทำกำไรในอนาคต หรือจับมือร่วมกันเป็นพาร์ทเนอร์ พัฒนาสินค้าหรือการบริการที่มั่นใจว่าหลังวิกฤตจบลงย่อมได้มาซึ่งรายได้เเละกำไรอย่างล้นหลาม
การทำธุรกิจในยามตกอยู่ในสภาวะวิกฤต สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการเอาตัวรอดเเละดำเนินธุรกิจอยู่ได้คือการรู้เท่าทันเเละเข้าใจ Pain Point ของลูกค้า เเล้วนำมาตีโจทย์หาคำตอบให้กับธุรกิจของตัวเองให้ดำเนินต่อไปได้และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
อ้างอิง
วางกลยุทธ์ในวิกฤตอย่างไรให้เติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจถดถอย | The Secret Sauce EP.213