รูปบทความ รวมเหตุการณ์ที่บอกวิกฤตโลก ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับอะไรบ้าง

รวมเหตุการณ์ที่บอกวิกฤตโลก ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับอะไรบ้าง

นับตั้งแต่ Global warming เปลี่ยนการเรียกเป็น Climate change ก็เหมือนเราจะได้รับรู้สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่แปรปรวนกันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งข่าวสารที่เดินทางกันอย่างรวดเร็วและความรุนแรงทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถ้าเราไม่ตระหนักตอนนี้จะไปรับรู้มันตอนไหนได้อีก


วันนี้ Esto จึงรวบรวมเหตุการณ์เกี่ยวกับ Climate Change มาให้ทุกคนได้ทบทวนกันว่าโลกเรานั้นวิกฤติไปถึงขั้นไหนแล้ว


น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายเร็วขึ้น

เราได้ยินกันมานานแล้วเกี่ยวกับเรื่องน้ำแข็งที่ขั้วโลกกำลังละลายเร็วขึ้น แต่ปัญหานี้มีขนาดเท่าไหร่ นอกจากความหมายที่ว่าโลกของเราร้อนขึ้นแล้วยังมีอะไรแฝงอยู่กันอีกบ้าง มาดูกัน


โดยปกติแล้วน้ำแข็งขั้วโลกจะมีช่วงเวลาที่ต้องละลายหรือที่เห็นและเรียกกันว่า แผ่นน้ำแข็งแตก แต่ตอนนี้แผ่นน้ำแข็งไม่ได้แตกออกตามฤดูกาล และจากที่เคยแตกกันในแผ่นเล็ก ก็เริ่มเกิดการแตกขึ้นในแผ่นน้ำแข็งที่ใหญ่โตขนาดเท่ากับอาณาเขตของรัฐหรือเกาะขนาดนี้ ซึ่งน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่ละลายมีความเร็วในการละลายมากกว่าปี 1990 ถึง 7 เท่า จากปี 1990 ที่ละลายไปเพียง 33 พันล้านตัน แต่ในปี 2019 เราสูญเสียน้ำแข็งกันไปถึง 250 พันล้านตัน และปีนี้ก็คาดว่าตัวเลขอาจสูงถึง 370 พันล้านตัน 


ตัวเลขพวกนี้จะหมายถึงอะไรได้บ้าง


หมายความว่าน้ำที่จะเพิ่มถึงในมหาสมุทรจะถูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดน้ำท่วมที่ริมชายฝั่งรุนแรงมากขึ้น ในปี 2013 IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลในปี 2100 ว่าจะสูงขึ้น 60 เซนติเมตรหรือ 2 ฟุต แต่ตอนนี้เปลี่ยนใหม่เป็น 67 เซนติเมตร เป็นอันตรายว่าแผ่นดินใหญ่จะมีพื้นที่ลดน้อยลง และแน่นอนว่านี่เป็นเป็นเพียงตัวเลขคาดการณ์ที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้อีก



นอกจากน้ำท่วมมากขึ้นแล้ว ยังมีปัญหาด้านสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำแข็งหรือใกล้น้ำแข็งด้วย เช่นหมีขั้วโลกที่ประสบปัญหาด้านการหาอาหาร เช่นเดียวกับหมีกรีซลี เดิมที่ทั้งสองไม่สามารถมาเจอกันได้ด้วยสภาพอากาศที่อาศัยต่างกันโดยสิ้นเชิง ทำให้มีพื้นที่ในการหาอาหารต่างกัน แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่แปรปรวนและร้อนขึ้นทำให้ทั้งสองสายพันธุ์ได้พบกัน และเกิดพยานเป็นหมีพรีซลีหรือหมีโกรลากันในที่สุด


ไฟป่าที่ดับไม่ง่ายอีกต่อไป



อากาศร้อนขึ้นเป็นเรื่องที่เรารับรู้กันอยู่แล้ว แต่ความรุนแรงของมันกำลังตอกย้ำให้เห็นและสร้างความเสียหายให้กับโลกอย่างมากเพราะความร้อนที่เกิดขึ้น เมื่อบวกกับความแห้งของหน้าแล้ง จึงเกิดประกายไฟได้ง่าย แต่ดับไฟได้ยาก ลองมาดูตัวอย่างความรุนแรงที่เกิดขึ้นกัน


ไฟป่าเผาปอดโลก

ปีที่แล้ว (2019) ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่ป่าแอมะซอนกินเวลากันตั้งแต่เดือนมกรา-สิงหา โดยปกติแล้วในช่วงเวลานี้มักจะเกิดไฟป่าขึ้นเป็นปกติแต่ในปีที่ผ่านมาได้ทวีความรุนมากขึ้นกว่าปี 2018 ถึง 2 เท่า และไฟครั้งนี้ยังทำลายป่าไปอาจจะถึงหลักหมื่นตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าไฟป่าครั้งนี้อาจเกิดจากฝีมือมนุษย์มากกว่าจากธรรมชาติ แต่ถึงอย่างนั้น พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลกก็ได้ถูกทำลายไปมากทีเดียว ผลกระทบของเรื่องนี้จะย้อนกลับมาสู่ทุกคนอย่างแน่นอน


ไฟป่าออสเตรเลีย

ผ่านกันไปไม่นานกับไฟป่าออสเตรเลียที่กินเวลายาวนานกันถึง 5 เดือน พร้อมกับความสูญเสียของสัตว์ป่าที่คาดการณ์กันว่ามากกว่า 500 ร้อยล้านตัวที่อาจจะตายเพราะหนีไม่ทันหรือไร้ที่อยู่อาศัยหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงเตือนกันว่านี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าสิ่งมีชีวิตทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะการสูญพันธุ์ระดับมหึมาครั้งที่ 6


โดยไฟป่าที่ออสเตรเลียนี้เกิดจากอากาศที่แห้งและร้อน บวกกับกระแสลมแรงทำให้ไฟติดง่าย ลุกลามได้ง่ายแต่ดับได้ยาก กินพื้นที่ความเสียหายถึง 4.8 หมื่น ตารางกิโลเมตรหรือกว่า 30 ล้านไร่ใหญ่กว่าไฟป่าแอมะซอนที่เสียหายไป 8 พันตารางกิโลเมตร และไฟป่าแคลิฟอร์เนียในปี 2018 ที่เสียหายไป 1 หมื่น 8 พันตารางกิโลเมตร


เชื่อว่าเราอาจจะยังได้เห็นไฟป่าทยอยเกิดขึ้นกันอีก ซ้ำเติมโลกที่ต้องการพื้นที่สีเขียวมากขึ้น หากเรายังไม่มีการปรับตัวในการสร้างอนาคตร่วมกับธรรมชาติที่ดีกว่านี้


พายุที่ทวีความรุนแรง


จำนวนอาจไม่เพิ่มขึ้น แต่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นแล้วล่ะ


สภาพอากาศแปรปรวน เป็นเรื่องที่รับรู้กันได้แล้ว แต่ขณะที่เกิดพายุนั้น หลายคนอาจจะตะหนักได้ชัดเจนมากขึ้นว่า ทุกวันนี้พายุกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น โดย IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ได้บอกแล้วว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ Climate change เป็นตัวแปรที่ทำให้เกิด “สภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather)” และมันจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก


อย่างเช่นช่วงปีที่ผ่านมาออสเตรเลียต้องพบกับคลื่นความร้อนสูงทะลุสถิติ แต่ตอนกลางของสหรัฐต้องรับมือกับอุณหภูมิที่หนาวติดลบกว่าทวีปแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้ แน่นอนว่าหากเกิดพายุขึ้นสภาพอากาศสุดขั้วนี้ก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยอย่างแน่นอน

ทุกเหตุการณ์เชื่อมต่อกัน แน่นอนว่าพายุก็เป็นหนึ่งในผลลัพธ์นั้น


หากมีพายุเฮร์ริเคน อุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรสูงมาเท่าไหร่ พายุก็จะทวีความรุนแรงขึ้นได้มากเท่านั้น และยิ่งอุณหภมิของโลกสูงขึ้นการเกิดคลื่นความร้อนและภัยแล้งก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก แน่นอนว่าความร้อนทำให้น้ำระเหยได้มากขึ้นก็จะเกิดเป็นน้ำฝนในปริมาณมาก สุดท้ายเมื่อตกลงมาเยอะเข้าน้ำก็จะท่วมในที่สุดนั่นเอง


ฝุ่นและมลพิษ

ค่าฝุ่นที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเกิดจากฝีมือมนุษย์ และยังลดลงไม่ได้เพราะความเปลี่ยนที่ดียังเกิดขึ้นไม่มากพอ โดยที่ต้นไม้ที่จะช่วยกรองฝุ่นให้กับเรานั้นไม่มากเท่ากับฝุ่นที่เราสร้าง แต่ขณะเดียวกัน หากเราสังเกต ค่าฝุ่นจะสูงขึ้นทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เป็นเพราะอากาศแห้งและทำให้ฝุ่นสามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น


แน่นอนว่าความเชื่อมต่อของโลกทั้งใบไม่ได้สิ้นสุดเพียงเท่านั้น เพราะฝุ่นควันอย่าง PM 2.5 ทำให้ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นเกิดไฟป่าได้ง่ายลุกลามขนานใหญ่และฝุ่นควันที่คละคลุ้งมาจากไฟป่าก็ถูกพัดกระจายเดินทางกันมาตามสายลม วนเวียนกันอยู่แบบนั้นและความเชื่อต่อนี้ดูจะใช้เวลาในแต่ละวงจรนานขึ้นเรื่อยๆ


อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น

นอกจากเรื่องของการละลายของน้ำแข็งแล้ว เรายังต้องประสบปัญหาระบบนิเวศในท้องทะเลจะพังเพราะความร้อนที่เพิ่มสูงมากขึ้นทำให้เหล่าสัตว์น้ำโดยเฉพาะปะการังเกิดการฟอกขาวและอาจส่งผลให้ตายลงไปเรื่อยๆ โดยปรากฏการณ์นี้จะส่งผลกระทบได้ถึงระบบป่าชายเลนและหญ้าทะเล และอาจกระทบถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาปะการัง ป่าชายเลยเข้าไปด้วย จะส่งผลกระทบสู่ระบบนิเวศอื่นๆ ได้ในวงกว้าง เพราะโลกเราทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่


ความเปลี่ยนแปลงที่มองไม่เห็นกำลังคืบคลานรุกรานเรามาอย่างช้าๆ ไม่ต่างจากที่เราเคยรุกรานธรรมชาติ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน ปัญหาว่าเราจะยังอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้อีกนานแค่ไหนก็เป็นแค่เรื่องของเวลาเท่านั้น


อ้างอิงโดย

businesstoday.co, bbc.comseub.or.thgreennews.agencysanook.comdog-vs-cat.composttoday.comreefresilience.org


บทความที่น่าสนใจ

รวม 3 วิธีลด PM 2.5 กำจัดฝุ่นในคอนโดเพื่อความปลอดภัยในห้อง

เมื่อ PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง เราทำอะไรได้บ้าง

รวมวิธีปกป้องโลกแห่งการพักผ่อนของคุณจาก PM 2.5

ผลวิจัยเผย ปี 2050 กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ?

"3 ไอเท็มเด็ด" ช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์