รูปบทความ ไปไม่ทันแล้วแม่ รวมปัญหาที่ต้องรู้ เมื่อคุณอยู่ไกลจากที่ทำงาน

ไปไม่ทันแล้วแม่ รวมปัญหาที่ต้องรู้ เมื่อคุณอยู่ไกลจากที่ทำงาน

ผู้คนเดินชนหัวไหล่ ไม่รู้ไปไหนเดินไปก็เดินมา” เนื้อร้องจากเพลงโอ้โฮบางกอก ที่แม้เพลงจะออกมานานแล้วแต่ยังสามารถให้ความเป็นกรุงเทพฯ ฯ ในปัจจุบันได้ดีอยู่ เพราะกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ทุกคนยังเดินไปเดินมา ขึ้นรถโดยสาร เดินทางกันจนแน่นทุกช่องทาง ยิ่งหากเป็นช่วงเวลาเร่งรีบอย่างช่วงเช้าก่อนเข้าทำงาน หรือช่วงเย็นที่ชาวกรุงเทพฯ พร้อมใจกันเลิกงานเวลาเดียวกันแล้วล่ะก็ การยืนรอคิวขึ้นรถจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเมืองไปเลย


ส่วนใครที่กำลังคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ตรงไหนกันกับแค่รถติด แอร์พอร์ตลิงค์คนเยอะ ก็รออีกหน่อยไม่เห็นจะเป็นอะไร ต้องขอบอกไว้ว่ามันร้ายแรงกว่านั้นอยู่มาก เพราะได้มีการวิจัยออกมาแล้วว่า ชาวกรุงเทพฯ เสียเวลาอยู่กับการเดินทางนานขึ้น 35 นาทีต่อการเดินทางหนึ่งครั้ง เมื่อนำมาคำนวณเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านเวลาที่คนกรุงเทพฯ ต้องรถติดอยู่บนถนน แทนที่จะนำเวลานั้นไปสร้างรายได้หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จะคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่าประมาณ 11,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยประมาณ 60 ล้านบาทต่อวันเลยทีเดียว


เนื่องจากความร้ายแรงที่เกิดขึ้นนี้ บทความนี้ Esto จะพาผู้อ่านไปสำรวจช่องทางการเดินทางว่าในช่วงเวลาไหนจะติดขัดเป็นพิเศษหรือหากจำเป็นต้องใช้ช่องทางนั้นจริงๆ ควรจะมีวิธีรับมือหรือปรับตัวอย่างไร


BTS

ระบบการขนส่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน จากมีไม่กี่สถานีวันนี้รถไฟฟ้า BTS ได้ขยายสถานีออกไปจนครอบคลุมแทบจะทั่วบริเวณสำคัญในกรุงเทพฯ และความถี่ในการเดินรถที่รอเพียง 3-5 นาที ด้วยเหตุนี้ทำให้ระบบการขนส่งนี้เนื้อหอมเป็นอันดับต้นๆในกรุงเทพฯ ก็ว่าได้


รถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นจะแบ่งสายการให้บริการออกเป็นสองสาย คือสายสุขุมวิท และสายสีลมทั้งสองสายจะตัดผ่านกันที่สถานีสยาม หากผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสายจะต้องมาเปลี่ยนที่สยามเท่านั้น และเป็นสถานีที่คนหนาแน่นที่สุดแทบจะตลอดทั้งวัน ไม่เว้นแม้แต่เสาร์อาทิตย์ แต่ช่วงเช้า ตั้งแต่ 7.00 – 9.30 เป็นช่วงที่คนจะแน่นสถานที่สุดแล้วยิ่งหากเป็นสถานีตามใจกลางเมืองยิ่งแล้วใหญ่


แต่หากใครที่ไม่สามารถเปลี่ยนช่องทางการโดยสารใปใช้ช่องทางอื่นได้ แนะนำว่าเพียงแค่ให้เผื่อเวลาเดินทางมากขึ้น ไม่ถึงกับต้องเปลี่ยน เพราะ BTS ในช่วงเวลาเร่งรีบนั้นจะมีการเพิ่มขบวนและเพิ่มความเร็วในการเดินทางในระดับที่ปลอดภัย ถือเป็นการช่วยให้ชาวเมืองไปถึงที่หมายเร็วขึ้น


MRT

ระบบการขนส่งที่แม้จะพึ่งมีไม่นาน แต่เป็นที่รู้จักและไว้ใจของชาวกรุงเทพฯ ไปแล้ว เพราสถานีที่ครอบคลุมไปยังจุดที่ BTS ไปไม่ได้ในบางสถานี และยังสามารถไปต่อรถไฟฟ้า BTS ในบางสถานีที่มีการสร้างเชื่อมกันเลยได้เช่นกัน MRT จะคล้าย กับ BTS ต่างกันเพียงแค่ย้ายลงมาสร้างเส้นทางใต้ดินแทน และเป็นผู้ให้บริการคนละเจ้า ส่วนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและความเอาใจใส่ที่จะส่งผู้โดยสารไปยังปลายทางนั้นนั้นไว้ใจได้แน่นอน


MRT นั้นตามเดิมจะมีเพียงสายเดียว คือตั้งแต่หัวลำโพงไปยังเตาปูน จากนั้นจึงเปิดสายสีม่วงขึ้น และเปิดสายสีน้ำเงินตามมาล่าสุด ที่ส่งผู้โดยสารจากหัวลำโพงไปยังหลักสอง การขยายตัวของเล้นทางการให้บริการนี้ทำให้ MRT นั้นเนื้อหอมไม่แพ้บีทีเอสเลย


ในช่วงเวลาเช้า ผู้คนมักจะใช้บริการเดินทางมายัง สถานี เพชรบุรี พระรามเก้า และศูนย์วัฒนธรรม เพราะเป็นมหาวิทยาลัย และแหล่งออฟฟิศ รวมถึงเป็นหอพักของนักศึกษาอีกด้วย พอถึงเวลาช่วงเย็นผู้คนจะเดินทางออกจากพระรามเก้าและสุขุมวิทเพื่อกลับไปยังที่พักของตน ทำให้เวลา 17.30 – 20.00 น. เป็นช่วงที่ MRT จะติดขัดมากที่สุด


แม้จะมีการเพิ่มขบวนและเพิ่มความเร็วของตัวขบวนรถแล้วเรียกได้ว่ายังไม่เพียงพอกับความต้องการโดยสาร หากสามารถใช้ช่องทางอื่นในการเดินทางได้ แนะนำว่าเปลี่ยนช่องทางจะดีที่สุด อาจจะเป็นเรียกมอเตอร์ไซค์ไปอีกสองถึงสามสถานีก่อนจะลง MRT อย่างเดิม แต่จะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้วย ส่วนนี้ต้องคำนวณให้ดี


แอร์พอร์ตลิงค์

อีกหนึ่งรถไฟฟ้าที่พึ่งจะเปิดให้บริการเช่นกัน เนื่องจากยังเปิดให้บริการไม่กี่สถานี ทำให้อาจจะยังไม่เนื้อหอมเท่าสองรุ่นพี่ด้านบน แต่ต้องขอบอกว่าไม่ใช่ว่าจะไม่มีคนเลย แอร์พอร์ตลิงค์เป็นช่องทางชั้นดีของผู้โดยสารที่มีที่พักอยู่นอกตัวเมือง เป็นมีสถานีลากผ่านตั้งแต่ พญาไท ไปจนถึงสุวรรณภูมิ ผู้คนจากสถานีตามเส้นทางก่อนถึงสุวรรณภูมิจึงใช้ช่องทางนี้ในการเดินทางเข้ามายังตัวเมืองกรุงเทพฯ


ดั่งเช่น รถไฟฟ้ารุ่นพี่ แอร์พอร์ตลิงค์จะแน่นขนัดเต็มไปด้วยผู้คนในช่วงเวลาเร่งรีบไม่ต่างกัน แต่การระบายคนไปถึงจุดหมายปลายทางนั้น อาจจะยังทำได้ไม่ดีเท่าเจ้าอื่น เพราะรถขบวนยังน้อย แต่ละสถานีมีความยาวห่างกันมาก และเทคโนโลยีตัวรถไฟเองไม่ได้ทันสมัยเท่าอีกสองเจ้า ทำให้พอถึงช่วงเวลาเร่งรีบ กว่าคนจะระบายออกจนหมดกลับสู่ช่วงปกตินั้นจะใช้เวลามากกว่า


แอร์พอร์ตลิงค์นั้นถูกใช้เป็นช่องทางในการเดินทางออกนอกตัวเมืองอยู่แล้ว ช่องทางที่พอจะแทนได้คงเป็นรถเมล์บางสายหรือไม่ก็รถตู้ ที่มีผู้โดยสารใช้บริการอย่างแน่นขนัดตลอดเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่จะใช้แอร์พอร์ตลิงค์อาจจะต้องวางแผนการเดินทางและทำใจสักเล็กน้อยเพราะจะต้องเหนื่อยกับการเดินทางแบบนี้ในทุกวัน หรืออาจจะเช่าคอนโดหรือหอพักอยู่ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เทียบกับการต้องแลกพลังกายไปกับการเดินทางในทุกวัน


สามช่องทางนี้เป็นเพียงช่องทางหลักๆของคนกรุงเทพฯ ที่มักจะแน่นขนัดในช่วงเวลาเร่งรีบ โดยชั่วโมงเร่งรีบนี้มักจะเป็นช่วงเวลาเดิมของทุกวัน ดังนั้นชาวกรุงเทพฯ จึงควรจะวางแผนและปรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อประหยัดเวลา ประหยัดพลังกายและประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย


บทความที่น่าสนใจ

อยู่คอนโดติดรถไฟฟ้า เดินทางสะดวกเหมือนกับคำโฆษณาบอกจริงหรือ?

แนะนำ 7 ทริค ปรับตัวอย่างไรกับการเดินทางในกรุงเทพฯ ที่แสนติดขัด

โรงเรียนนานาชาติย่านสาทร-เจริญกรุง และคอนโดในระยะเดินถึง

5 จุดเช็คอิน สถานที่เที่ยวเดินทางสะดวก ที่ต้องพาแม่ไปเที่ยวให้ได้

5 พิกัด ร้านอาหารแม่ปลื้ม ที่เหมาะแก่การพาคุณแม่ไป


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์