รูปบทความ 5 สะพานที่แค่ได้ยินชื่อ ก็อยากรู้ที่มา

5 สะพานที่แค่ได้ยินชื่อ ก็อยากรู้ที่มา


ทำไมต้องมีสะพาน?  ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยย่นระยะทาง ระยะเวลาในการเดินทางให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น หรือหากจะมองอีกมุมหนึ่ง สะพานก็เปรียบเสมือนสื่อแห่งเชื่อมต่อ ที่เชื่อมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนเข้าไว้ด้วยกัน บ้างก็สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญ บ้างก็สร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม แสดงออกถึงการพัฒนา และวันนี้ Esto ก็มีเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสะพาน ที่แค่เราได้ยินชื่อ ก็อยากรู้ถึงที่มาที่ไปมาฝากกัน 


1. สะพานซังฮี้ : สะพานแห่งความยินดีของฝั่งธนฯ และพระนคร

น่าจะมีหลายคนที่คุ้นชื่อกับ "สะพานซังฮี้" สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอายุยาวนานกว่า 65 ปี โดยสะพานแห่งนี้ได้เริ่มทำการก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ หรือเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ก่อนจะเปิดให้ใช้งานในวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕oo เพื่อทำหน้าที่เชื่อมเศรษฐกิจและการคมนาคมของย่านฝั่งธนฯ และพระนครเข้าไว้ด้วยกัน


สำหรับที่มาที่ไปของสะพานซังฮี้ ก็เริ่มมาจากการเรียกกันจนติดปากของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งตัวสะพานนี้จะตั้งอยู่บริเวณถนนซังฮี้ หรือถนนราชวิถีในปัจจุบัน โดยคำว่า "ซังฮี้" ก็มีที่มามาจากคำว่า 'ช้วงสี่'  เครื่องกิมตึ้ง หรือเครื่องปั้นถ้วยชามจีนของสะสมในรัชกาลที่ ๕ จนกลายเป็นชื่อพระราชทานที่มาพร้อมความหมายอันเป็นมงคลว่า “ยินดีอย่างยิ่ง”  ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามกลายเป็น "สะพานกรุงธน" นั่นเอง


ที่มา: บทความ Once upon the time กาลครั้งนี้ที่ ‘จรัญฯ’ 2 เรื่องราวริมน้ำ ผ่านไลฟ์สไตล์ไร้ขีดจำกัด...

นอกจากนี้ บริเวณสะพานซังฮี้ไปจนถึงแยกเทเวศน์ ยังมีไลฟ์สไตล์ผสมผสาน ครบทั้งร้านอาหารเจ้าดัง ที่เปิดขายกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่า, ตลาดศรีย่าน แหล่งรวม Street Food ของอร่อย, คาเฟ่สไตล์โมเดิร์นสำหรับคนรุ่นใหม่ และสถานที่สำคัญไว้มากมาย




2. สะพานเหล็ก : คอเกมยุค 90's ต้องรู้จัก

รู้หรือไม่ ว่าจริง ๆ แล้วชื่ออย่างเป็นทางการของสะพานเหล็กนั้นคือ "สะพานดำรงสถิต" หรือสะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุงที่ตั้งอยู่บริเวณคลองโอ่งอ่าง และถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เพื่อใช้ขยายถนนเจริญกรุงให้สะดวกคล่องตัวขึ้น


ที่มา: thaigoodview.com และ mgronline.com

สำหรับชื่อ "ดำรงสถิต" นี้ก็มาจากการตั้งชื่อสะพานเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ 'สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ' ที่ต้องมีการย้ายประตู และกำแพงวังที่ประทับของพระองค์เพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพาน แต่อาจจะด้วยโครงสร้างสะพานนี่เอง จึงทำให้ใครหลายคนชินหูกับชื่อเรียก "สะพานเหล็ก" มากกว่า


ที่มา: www.thairath.co.th

และอย่างที่ทราบกันดีว่า บริเวณเชิงสะพานเหล็กนั้นอยู่ใกล้กับ 'ตลาดคลองถม' แหล่งค้าขายเกมวิดิโอ, โมเดลตุ๊กตา, ของเล่นที่เด็กยุค 90's ขึ้นไปต้องรู้จัก ทำให้โซนนี้เกิดความแออัดและไร้ระเบียบ ที่แม้แต่แสงอาทิตย์ก็ไม่สามารถส่องลงมาถึงตัวคลอง เนื่องจากถูกหลังคาจากร้านค้าต่าง ๆ บดบัง


จนล่าสุดได้เกิดแผนการฟื้นฟูคลองโอ่งอ่างขึ้น เริ่มจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและร้านค้าทั้งหมด แล้วทำการปรับภูมิทัศน์โดยรอบให้มีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม พร้อมเพิ่มพื้นที่พักผ่อนใจกลางกรุง จนเราแทบลืมภาพเก่าของสะพานเหล็กไปเลย




3. สะพานนวลฉลี : สัญลักษณ์คดีดัง ที่ยังไม่มีใครลืม


ที่มา: www.thairath.co.th/news

ความจริงแล้วสะพานนวลฉลีมีชื่อจริง ๆ ว่า "สะพานนนทบุรี" ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแรก ๆ ของไทยที่ใช้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเชื่อมพื้นที่ระหว่าง อ.ปากเกร็ด นนทบุรี กับอำเภอเมืองปทุมธานี จนเมื่อปี 2502 ก็ถูกเรียกขานด้วยชื่อใหม่ตามเหตุการณ์คดีดัง 'นวลฉวี'  เนื่องจากมีคนพบร่างของเธอลอยน้ำมาอยู่บริเวณสะพานนนทบุรี พอนับอายุรวม ๆ แล้วก็กว่า 66 ปีตั้งแต่เริ่มสร้างสะพานมา ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการซ่อมแซมยกระดับสะพานให้สูงขึ้นพร้อมทาสีใหม่เพิ่มเติม 




4. สะพานแดง : สะพานที่หายไป ริมคลองเปรมประชากร

"สะพานแดง" หรือสะพานบางซื่อ หนึ่งสะพานที่มักมีแต่คนในพื้นที่เท่านั้นที่รู้จัก รวมถึงคนรุ่นใหม่หลายคนก็อาจจะไม่คุ้นกับชื่อนี้กันเท่าไรนัก เนื่องจากปัจจุบันสะพานแห่งนี้ไม่ได้มีอยู่แล้ว โดยสะพานแดงแต่เดิมจะเป็นสะพานไม้ที่ถูกทาสีแดง ตั้งอยู่บริเวณสโมสรนายทหารสื่อสาร ก่อนจะได้รับการพัฒนาสร้างเป็นสะพานซีเมนต์แข็งแรง และในที่สุดสะพานไม้สีแดงก็ค่อย ๆ เลือนหายไป หากจะมีก็คงมีแต่ชื่อป้ายรถเมล์ หรือในความทรงจำของคนรุ่นพ่อแม่เท่านั้น


และนอกจากสะพานที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา สภาพแวดล้อมบริเวณชุมชนบางซื่อก็ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเช่นกัน เริ่มจากชุมทางบางซื่อก็พัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคมระบบราง 'สถานีกลางบางซื่อ' ที่มีโครงการจะย้ายสถานีรถไฟหลัก หัวลำโพง มาไว้ที่นี่ อีกทั้งยังมีรถไฟความเร็วสูงที่สามารถเชื่อมต่อไปยังทุกภูมิภาค ตลอดจน 3 สนามบิน 'ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา' ด้วย




5. สะพานควาย : ไม่มีควาย แต่มีสไตล์นะ


หากใครเคยมาในย่านนี้ อาจเกิดข้อสงสัยขึ้นสักหน่อย ว่ามันเกี่ยวอะไรกับควาย ในเมื่อปัจจุบันบริเวณแยกสะพานควายกลับเต็มไปด้วยคอนโดสูง, คาเฟ่, ร้านอาหาร และแหล่งไลฟ์สไตล์มากมายขนาดนี้


ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปในอดีต พื้นที่ส่วนนี้เคยเป็นทุ่งนากว้างขวาง และยังถูกใช้เป็นจุดซื้อขายควายให้นายฮ้อย หรือพ่อค้าวัวควายจากภาคอีสาน (มาไกลมาก) และพอเริ่มมีความพลุกพล่านมาก ๆ ขึ้น ทำให้ต้องมีการสร้างสะพานไม้ เพื่อคอยอำนวยความสะดวก จนคนส่วนใหญ่ติดเรียกชื่อ "สะพานควาย" มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะไม่มีสะพานไม้เหลืออยู่แล้วก็ตาม


ถึงสะพานไม้และทุ่งหญ้าจะหายไป แต่ความทันสมัยกับความสะดวกสบายกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งรถไฟฟ้า BTS สะพานควาย, โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล, ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่, บิ๊กซี สะพานควาย, โครงการ Aqua และอื่น ๆ อีกมากมาย จนกลายเป็นย่านพักอาศัยที่หลายคนให้ความสนใจ อยากเข้ามาอยู่อีกที่หนึ่งของกรุงเทพฯ เลย



  • ส่วนใครที่รู้จักสะพานที่มีชื่อน่าสนใจ อยากเล่าให้ฟังบ้าง ก็สามารถแบ่งปันเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ กับเอสโตมากันได้



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์