รูปบทความ เมื่อ 'ค่าเงินบาทแข็งตัว' ควรแก้ที่ตรงไหน

เมื่อ 'ค่าเงินบาทแข็งตัว' ควรแก้ที่ตรงไหน?


เป็นใครก็คงกังวลไม่น้อย เมื่อปัญหาเศรษฐกิจไทยตั้งต้นปี 2563 ดูท่าจะซบเซา โดยเฉพาะปัญหาเงินแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 5% มาตั้งแต่ปี 2562 เมื่อเทียบกับ USD ซึ่งปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ประจำวันที่ 7 มกราคม 2563) ก็อยู่ที่ 30.140 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าไปแล้ว


ค่าเงินบาทแข็งตัว เพราะอะไร?

โดยส่วนสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นนั้น ก็มีผลจากปัจจัยทางต่างประเทศ  อาทิเช่น การเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีการกำหนดทิศทางนโยบายให้เข้มงวดขึ้น


บวกกับปัจจัยภายในที่พบว่า... ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2652 ประเทศไทยได้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างมากกว่า 29,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ไหลเข้ามา 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวเลขสำคัญที่สะท้อนถึงสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อการแข็งตัวขึ้นของค่าเงินบาท และเมื่อค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นก็ย่อมส่งผล 2 ด้าน ทั้งได้และเสียปะปนกันไป"


ที่มา: www.bot.or.th

แน่นอนว่า... สำหรับผู้ทำธุรกิจส่งออกแล้ว คงไม่มีใครอยากให้ค่าเงินบาทแข็งตัวเท่าไรนัก เนื่องจากรายได้ที่เกิดจากส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นสกุลเงินต่างประเทศนั้นจะแลกกลับมาเงินบาทได้น้อยลง นอกจากนี้ทางฝั่งฟากตลาดคอนโดฯ เองก็ได้ผลกระทบจากการทิ้งโอนคอนโดของชาวจีนในช่วงท้ายปี 2562 ทำให้ยอดขายคอนโดลดวูบถึง 40%


แต่ถ้าลองมองดูอีกด้าน นั่นเท่ากับว่า รายจ่ายที่เกิดจากการนำเข้าสินค้าต่างประเทศต่าง ๆ ก็จะถูกลงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ "การปรับโครงสร้างการออม และการลงทุนในประเทศ" เพื่อให้เงินเข้า-เงินออกมีความสมดุลกันมากขึ้น จึงอาจเป็นแนวทางแรก ๆ ที่ควรให้ความสำคัญ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงหลายส่วนก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้วนั่นเอง



แนวทางแก้ไข ค่าเงินบาทแข็งตัว จากธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา: www.bot.or.th

1.  ส่งเสริมการลงทุน และการเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ของประเทศ

ด้วยการเร่งดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมไปถึงการลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัลของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งปัจจุบันที่เรากำลังอยู่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากจึงเอื้อต่อการลงทุน ทั้งยังช่วยปรับดุลบัญชีเดินสะพัดให้เกินดุลน้อยลงอย่างต่อเนื่อง


2. ธปท. ออกมาตรการเฝ้าระวังเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น อาทิ...

  • ลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาท : ณ สิ้นวันของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ สำหรับบัญชี Non-resident Baht Account (NRBA) และ Non-resident Baht Account for Securities (NRBS) เพื่อลคช่องทางในการพักเงิน และเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ
  • ความเข้มงวดเรื่องการรายงานข้อมูล และการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ : โดยต้องระบุชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์แท้จริง เพื่อการติดตามข้อมูล

ตลอดจนมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย 0.50% ทำให้ปริมาณเงินทุนไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไรในช่วงที่ผ่านมาลดลงได้ในระดับหนึ่ง


3. ธปท. ทยอยผ่อนคลายเกณฑ์กำกับดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย อาทิ...

  • ผู้ส่งออกสามารถเก็บรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไว้ในบัญชีต่างประเทศได้โดยไม่ต้องนำเงินกลับมาในไทย
  • ผู้ส่งออกไม่จำเป็นต้องแยกบัญชี FCD ตามแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ ตามเกณฑ์เดิมแล้ว
  • คนไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางในประเทศ และสามารถโอนเงินออกนอกประเทศได้โดยไม่ต้องแสดงเอกสารประกอบการโอนเงิน


ซึ่งนับเป็นการเปิดช่องทางให้คนในประเทศนำเงินออกไปลงทุนได้มากขึ้น และเมื่อเงินทุนดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวไหลออกบ้าง ก็จะช่วยลดแรงกดดันของค่าเงินบาทที่แข็งตัวได้อีกทางหนึ่ง



ค่าเงินบาทแข็งตัว กับแนวโน้มเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของไทย

สำหรับ "แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563" อาจได้รับผลต่อเนื่องมาจากค่าเงินบาทแข็งตัว โดยมีภาพรวมการขยายตัวค่อนข้างต่ำกว่าระดับที่ธปท. ประเมินไว้ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ในปี 2563 เนื่องจากปริมาณการการส่งออกสินค้าที่ค่อนข้างฟื้นตัวช้า บวกกับการค้าโลกที่ชะลอตัวลงจากการกีดกันทางการค้า ซึ่งการบริโภคภาดเอกชนในปี 2563 ก็มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงตามปัจจัยของรายได้ครัวเรือนและภัยแล้ง ส่วนในปี 2564 ก็คงต้องรอลุ้นไปกับโครงการ PPP และโครงการลงทุนของภาครัฐบางโครงการที่เลื่อนการดำเนินการออกไป โดยคาดว่า "เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องนั่นเอง"


บทความที่เกี่ยวข้อง

เผยสาเหตุต่างชาติทิ้งโอนคอนโดไทย ยอดลดฮวบ 40%

วิเคราะห์สัญญาณฟองสบู่ 2563 จะแตกไหม พร้อมย้อนรอยปัจจัยคอนโดแบบเจาะลึก

ที่มา : 

www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications

www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets

www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์