ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ลุยแผนครึ่งปีหลัง 62 เปิด 5 โครงการใหม่ พร้อมรุกตลาด EEC
21 August 2562
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ กางแผนครึ่งปีหลังปี 62 พร้อมเดินหน้าเปิด 5 โครงการใหม่ มูลค่า 3,500 ล้านบาท และเตรียมรุกตลาด EEC เพิ่ม
บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่เน้นพัฒนาโครงการแนวราบเป็นหลัก โดยได้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้คอนเซ็ปต์ "บ้านที่ปลูกบนความตั้งใจที่ดี" และยังได้พัฒนาโครงการเพื่อเน้นเจาะไปยังตลาด Real Demand เป็นหลัก โดยจะเน้นทำเลที่มีการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม , แหล่งงาน และชุมชนเป็นหลัก
ซึ่งลลิลก็ได้วางแผนพัฒนาโครงการใหม่ทั้งหมด 5 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 3,500 ล้านบาท และปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการขายไปแล้วรวม 4 โครงการ ได้แก่
- Lalin Town อ่อนนุช-สุวรรณภูมิ
- Lalin Town รังสิต-คลอง 2
- Lio Bliss รังสิต-คลอง 4
- Lio Bliss เพชรเกษม 81/2
และเตรียมทยอยเปิดขายอีก 1 โครงการ คือ Lio Bliss ปลวกแดง-มาบยางพร เพื่อรองรับความต้องการศักยภาพที่มีอยู่จริงในตลาด
ทั้งนี้ กลยุทธ์การตลาดที่ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จะนำมาใช้เพื่อการสร้างความแข็งแกร่งยังคงสานต่อจากปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นตลาดแบบ Real Demand โดยมุ่งเน้นตลาดเชิงรุก และใช้ Insight Cuetomer ทั้งด้านออนไลน์และออฟไลน์มาร์เก็ตติ้ง
ตลอดจนการทำ CRM อย่างต่อเนื่อง โดยผนึกกำลังกับแบรนด์ชั้นนำเพื่อมอบสิทธิประโยชน์พิเศษแก่ลูกบ้านของลลิล เพื่อเพิ่มความสะดวกในทุกการใช้ชีวิตและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยนำการออกแบบ แบบ Eco Living มาประยุกต์ใช้ นับเป็นอีกหนึ่งค่านิยมหลัก (Core Value) ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของเครือข่ายและพันธมิตรในการสร้างความสำเร็จของธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกบ้านอย่างยั่งยืน
จากการนำเสนอโครงการใหม่สู่ตลาดตั้งแต่ต้นช่วงต้นไตรมาส 2 ของปี 2562 ทำให้เห็นชัดว่า ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เดินมาถูกทาง ดังนั้น เราจะเดินหน้าพัฒนาโครงการแนวราบในย่านที่มี Blue Print ของความเป็นเมืองหรือชุมชนศักยภาพที่พร้อมจะเติบโตสู่การเป็นย่านเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งทำเลหลักก็ยังเป็นเขตรอบของกรุงเทพฯ ทั้งโซนทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกเป็นหลัก
รวมไปถึงพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นพัฒนาเพียงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และที่อยู่อาศัย จึงถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่นำร้องในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาขนส่งระบบรางและการบินที่ทันสมัย สนับสนุนนวัตกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ เช่น โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
จากแผนการพัฒนาดังกล่าวทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นในพื้นที่เฉลี่ย 8-10% ต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องในอนาคต ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาพัฒนาโครงการใหม่ๆกันมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณแรงงานคุณภาพที่ย้ายถิ่นฐานมาในโซนดังกล่าว พร้อมความต้องการที่อยู่อาศัยที่มากขึ้น
สำหรับภาพรวมมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยในปี 2562 คาดว่ายังคงมิทิศทางที่เป็นบวกในครึ่งปีหลัง แต่อัตราการปรับตัวอาจอยู่ในกรอบที่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอุปทานคงเหลือในหลายพื้นที่ โดยการเติบโตจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ที่ประชาชนมีกำลังซื้อ เช่น กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงจังหวักเขตเศรษฐกิจและเริ่มขยายไปยังจังหวัดรองที่สำคัญ ส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยจะกระจายตัวออกไปจากอุปทานของที่ดินที่ยังมีอยู่จำนวนมาก และมุ่งเน้นเจาะไปที่กลุ่ม Real Demand เป็นสำคัญเพื่อปลดล็อคปัญหา LTV โดยการพัฒนาโครงการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะอาศัยแรงบวกจากนโยบายภาครัฐที่ชัดเจน คือ การลงทุนขนาดใหญ่ในพื้นที่เฉพาะ เช่นพื้นที่ EEC ที่กำลังเติบโตน่าจับตา