รูปบทความ ส่องเคล็ดลับการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าโครงการ

ส่องเคล็ดลับการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าโครงการ


ที่อยู่อาศัยถือเป็นสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยต้องผ่านการหาข้อมูล วิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างละเอียด ทั้งเรื่องทำเลที่ตั้ง การเลือกแบรนด์ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบโครงการ ขนาดพื้นที่ใช้สอย ฟังก์ชันการใช้งาน สภาพแวดล้อม พื้นที่ส่วนกลาง และ งบประมาณ เพราะเมื่อตัดสินใจแล้ว ทุกคนก็คาดหวังให้สินทรัพย์เหล่านี้คงความสวยงามไปตลอด และมีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตตามราคาที่ดินที่สูงขึ้น



แต่ในความเป็นจริง เราพบว่าความสวยงาม สภาพแวดล้อมภายในโครงการเริ่มมีความชำรุด ทรุดโทรม ขาดความร่มรื่น ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเกิดจากปัจจัยสำคัญ คือ การดูแลบริหารโครงการหลังการขาย หรือ โครงการนั้นๆ มี “นิติบุคคล” ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ดูแลไม่สามารถวางแผนการดูแลรักษาโครงการ หรือบริหารจัดการทรัพยากรภายในโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดูแลให้สวยเหมือนวันแรก ทุกอย่างพร้อมใช้ ราคาไม่ตก ต้องวางแผนเรื่องเหล่านี้!!


พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัย ที่ดูแลลูกบ้านมากกว่า 80,000 ครัวเรือน ได้นำมาตรฐานสากล ISO 41001 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร การดูแลงานกายภาพ และพื้นที่ส่วนกลางให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยกำหนดกรอบการทำงาน เป็น 4 องค์ประกอบสำคัญดังนี้





1. วางแผนทีมงาน 


เริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมบุคคลากร ทีมนิติบุคคล ทีมช่างที่มีความเชี่ยวชาญผ่านการอบรม รวมไปถึงคัดสรรพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถทำงานได้ตามขั้นตอน และมาตรฐานที่เรากำหนด อาทิ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แม่บ้าน และคนดูแลสวน เป็นต้น นอกจากทีมงานที่เกี่ยวกับการทำงานหน้างานโดยตรง พลัสฯ ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญอื่นไว้ดูแลสนับสนุนการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ อย่างทีมพัฒนางานวิศวกรรมและงานซ่อมบำรุง ทีมตรวจสอบคุณภาพ ทีมพัฒนากลยุทธ์และความเชี่ยวชาญ ทีมบริหารระบบงบประมาณและงานบัญชี





2. กำหนดแผนการดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางเฉพาะแต่ละโครงการ


เพราะแต่ละโครงการมีการออกแบบที่แตกต่างกัน ทั้งการตกแต่ง พื้นที่ส่วนกลาง วัสดุและระบบประกอบอาคารทั้งหมด ดังนั้นทีมบริหารโครงการมืออาชีพ ต้องตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ จัดทำคู่มือการดูแลรักษา และกำหนดแผนบริหารจัดการเฉพาะของโครงการนั้นๆ โดยสามารถกำหนดเป็นแผนระยะสั้นสำหรับดูแลประจำวัน สัปดาห์ หรือทุกเดือน แผนระยะกลางสำหรับการดูแลประจำครึ่งปี ทุกปี หรือทุก 2 ปี และแผนระยะยาวสำหรับรอบการดูแลทุก 3-5 ปี เพื่อให้แต่ละแผนงานมีความเหมาะสมกับรอบการบำรุงรักษาของระบบภายในโครงการ




3. แผนการปฏิบัติงานประจำวันของเจ้าหน้าที่ และจัดเตรียมอุปกรณ์จำเป็น


เพื่อให้การดูแลทรัพย์สินสามารถทำได้ตามที่วางแผนไว้ ควรมีการกำหนดเป็นแผนการทำงานประจำวันให้กับทีมงานที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการวางแผนการทำงานที่รัดกุมช่วยลดโอกาสการทำงานที่ผิดพลาด และสามารถวางแผนการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ล่วงหน้า นอกจากวางแผนการทำงานประจำวันแล้ว พลัสฯ ยังมีแผนฉุกเฉิน และแผนการฝึกซ้อมสำหรับเจ้าหน้าที่ด้วย



4. การจัดทำรายงาน ประเมินตรวจสอบ และศึกษาข้อกำหนดกฏหมาย


เมื่อปฏิบัติงานแล้วจะต้องมีการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโดยละเอียด มีการแจ้งต่อที่ประชุม มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงต้องมีการประเมินผลความพึงพอใจในการให้บริการ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทีมบริหารโครงการมืออาชีพ จำเป็นต้องหมั่นศึกษาข้อกำหนดกฏหมายที่เกี่ยวกับ พรบ.อาคารชุด ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่างๆ ที่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้งด้วย


ตามตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น การบริหารจัดการทรัพยากรที่ทำอย่างมีมาตรฐาน เป็นระบบ มีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ จะช่วยส่งเสริมให้การอยู่อาศัยของลูกบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีสะดุด กายภาพโครงการและอุปกรณ์ได้รับการบำรุงรักษาช่วยให้ไม่ทรุดโทรม ยืดอายุการใช้งาน และช่วยลดค่าใช้จ่ายระยะยาวในการซ่อมบำรุง รวมถึงช่วยให้สภาพแวดล้อมในโครงการยังมีความร่มรื่นน่าอยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้โครงการยังมีความน่าอยู่ คงสภาพสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาด และช่วยให้มูลค่าโครงการเติบโตต่อไปได้อีกด้วย


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์