รูปบทความ แสนสิริ ถกวาระสำคัญรับโลกเดือด ครั้งแรก! โมเดล Green Supply Chain

แสนสิริ ชวนพาร์ตเนอร์ ถกวาระสำคัญรับโลกเดือด ครั้งแรก! โมเดล Green Supply Chain รองรับเศรษฐกิจสีเขียว

แสนสิริ ชวนพาร์ตเนอร์ ถกวาระสำคัญรับโลกเดือด ครั้งแรก! โมเดล Green Supply Chain รองรับเศรษฐกิจสีเขียว

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) อสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทยที่ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) จัดงาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM: Change Today, Chance Tomorrow ผนึก Green Supply Chain ฟันเฟืองสำคัญในการสร้างความยั่งยืน พร้อมชวนภาครัฐ เอสเอ็มอี อสังหาริมทรัพย์ ร่วมถกวาระสำคัญเพื่อรับมือกับภาวะโลกเดือด ที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง พร้อมรับฟังข้อมูลสำคัญในการขับเคลื่อน Green Ecosystem เพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตและเลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน รวมถึงร่วมรับฟังพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต (จัดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ณ สิริ แคมปัส)

นำร่องโมเดล Green Supply Chain เติบโตอย่างยั่งยืน

นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า ภาวะโลกเดือดไม่ใช่เรื่องไกลตัว และภาคธุรกิจเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ และนี่นับเป็นบทพิสูจน์สำคัญของแสนสิริ และ Green Leadership ที่จะร่วมกันปรับธุรกิจ กำหนดเส้นทาง สู่อนาคตที่ยั่งยืน และเติบโตไปด้วยกัน ด้วยการเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจบนแนวทาง ESG (Environment – Social – Governance)

ปี 2567 นับเป็นก้าวสำคัญของแสนสิริในโอกาสดำเนินธุรกิจสู่ปีที่ 40 กับการก้าวสู่การเป็นเบอร์หนึ่งของผู้นำอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มภาคภูมิ ได้รับความเชื่อมั่นทั้งในด้านการออกแบบ การบริการ คุณภาพ และความยั่งยืน ปีนี้เราวางแผนเปิดตัว 46 โครงการใหม่ มูลค่า 61,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เรามองว่าความยั่งยืนเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงของธุรกิจด้วยเช่นกัน อาทิ ทรัพยากร ธรรมชาติที่ขาดแคลน อาจหมายถึงราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น วัสดุทางเลือกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ต้องมีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและย่อยสลายได้ง่าย รวมถึงนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่, ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตของแรงงาน รวมถึงมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความยากจนและการเข้าถึงบริการพื้นฐาน เพราะหากแรงงานไม่มีความสุข productivity อาจจะลดลง และส่งผลระดับ operation หยุดชะงัก จึงเป็นความท้าทายที่ธุรกิจจะต้องเข้าใจ ต้องผนวกแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนเข้าไปในกลยุทธ์ขององค์กร ต้องบูรณาการให้คอบคลุมมิติด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ไปพร้อมๆ กันอย่างสมดุล

แสนสิรินำเรื่องความยั่งยืนมาเป็นกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทอย่างจริงจัง พร้อมกับดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราให้เติบโตไปด้วยกัน โดยเป้าหมายสูงสุดคือการร่วมมือกับพันธมิตร และสนับสนุนให้ Green Partner เติบโตไปด้วยกัน เพื่อผลักดันให้ทั้งอุตสาหกรรมและประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แสนสิริมีการวางแผนดำเนินการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกองค์กร 3 ระดับ ได้แก่ แผนระยะสั้นในปี 2025 เพื่อลดคาร์บอนลง 20% (ล่าสุดปี 2023 ทำได้ 15%) แผนระยะกลางปี 2033 ตั้งเป้าที่ 50% พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในแผนระยะยาวปี 2050 รวมถึงการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบ้านและคอนโดที่นำส่งแก่ผู้บริโภค เพื่อสอดรับไปกับแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

ในเส้นทางนี้ แสนสิริเราเดินไปคนเดียวไม่ได้ คู่ค้าที่ให้ความใส่ใจในเรื่องเดียวกันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงได้นำร่องในการนำโมเดล Green Supply Chain มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเรามีผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานทั้งสามด้าน คือ Green Architecture and Design, Green Construction, Green Procurement ราว 4,000 ราย ทั้งหมดนี้คือฟันเฟืองสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับภาคธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1.05 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 5.8% ต่อจีดีพี

โมเดล Green Supply Chain เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าที่มี DNA ในเรื่อง ESG และให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนเช่นเดียวกับแสนสิริ ให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้น แม้รู้ว่าอาจต้องมีการเพิ่มเติมขึ้นมาของต้นทุน แต่เรามองภาพในระยะยาว เพราะเมื่อเกิด Economy of Scale แล้ว การดำเนินธุรกิจของทุกส่วน ทั้งเราและคู่ค้า จะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนไปของโลก การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญมากขึ้น

แสนสิริเราเริ่มปรับจากตัวเองก่อน และส่งต่อประสบการณ์และองค์ความรู้ให้กับพาร์ตเนอร์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่า Green Supply Chain ที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ สามารถผลักดันให้เกิดเครือข่ายการทำงานใน Green Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาด Green Economy มากขึ้น และเชื่อว่างาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญของแสนสิริในการมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักการของความยั่งยืน และสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

เตรียมพร้อมรับกติกาใหม่ “พ.ร.บ.โลกร้อน”

ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใกล้ตัว และส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนทั้งทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของภาคธุรกิจ การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้จากผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปรับเปลี่ยนธุรกิจและอุตสาหกรรมให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เท่าทันกระแสการบริโภคและการค้ายั่งยืน นอกจากรับฟังวิสัยทัศน์ของแสนสิริ และข้อมูลพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะมีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้ว ภายในงานยังได้จัด Special Talk หัวข้อ “Change Today, Chance Tomorrow” ประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

เอสเอ็มอี คือฟันเฟืองเชื่อมเศรษฐกิจ

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ความยั่งยืนที่มีพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy; SEP) มีหลักคิดให้ความสำคัญกับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่มีการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้ในทุกระดับขององค์กร มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นคุณธรรมในการบรรลุยุทธศาสตร์และกลยุทธ์องค์กรที่รองรับการเปลี่ยนแปลง มีเหตุมีผลคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนพอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่ให้เสียโอกาส ไม่เป็นภาระ แต่กลับเสริมศักยภาพองค์กร สร้างภูมิคุ้มกันองค์กรที่ดีในการพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งพิงให้ผู้อื่นได้ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง มีการบริหารความเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งสอดคล้องกับ ESG ที่ต้องขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะความเป็นผู้นำที่ดี (Leadership) และใช้ประโยชน์นวัตกรรม (Innovation) นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับขององค์กร มุ่งยกระดับขีดความสามารถเพื่อเพิ่มคุณค่าและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับระบบนิเวศธุรกิจที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (Sufficiency for Sustainability)

การดีไซน์ ต้องโอบรับความยั่งยืน

นางสาวศรีอำไพ รัตนมยูร ประธานผู้บริหารสายงานการตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในโอกาสปีที่ 40 แสนสิริเราได้ Challenge ตัวเอง ภายใต้แนวคิด Design for Future และหนึ่งในแกนการออกแบบที่สำคัญคือ Design for Sustainability ที่พร้อมโอบรับความยั่งยืน รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แสนสิริเราให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ผสานแนวคิดความเข้าใจธรรมชาติ ต่อยอดอย่างสร้างสรรค์กับงานออกแบบ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง เช่น การนำเศษวัสดุจากการสร้างบ้านมาต่อยอดกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งผ่านโครงการ Waste to Worth (หินอ่อน กระเบื้อง ไม้), ออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นต้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความยั่งยืน การออกแบบถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนความยั่งยืน เพราะถือเป็นต้นน้ำในการพัฒนาโครงการ เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่กำหนดทิศทางและมาตรฐานของโครงการทั้งหมด การออกแบบที่ดีไม่เพียงแต่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การก่อสร้าง การขาย และการดูแลรักษาอีกด้วย

ภาคอสังหาฯ ถูกตั้งคำถามว่าเป็นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

นายองอาจ สุวรรณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาโครงการแนวสูง บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จะไม่ใช่กลุ่มที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง แต่ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจนี้ต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง แสนสิริและคู่ค้าเราคำนึงถึงสิ่งนี้มาโดยตลอด และได้หาแนวทางและปรับกลไกการทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงทางธุรกิจในอนาคต แสนสิริ เรามีโรงงานพรีคาสท์สีเขียว เป็นรายแรกของอสังหาฯ ไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 & ISO14001 ทั้งระบบบริหารงานคุณภาพและระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองฉลากเขียวจากกระทรวง สามารถลดขยะภายในโรงงานได้มากถึง 98% (ไม่มีมลพิษทางเสียงและอากาศ) มีกำลังการผลิต 1,500,000 ตร.ม./ปี และสามารถผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 3,700 ยูนิต/ปี

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยวางรากฐานให้การก่อสร้างยั่งยืน เช่น นำระบบ BIM (Building Information Modelling) มาใช้สำหรับการทำแบบก่อสร้างและการวางแผนก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรมากที่สุด ตลอดจนการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามความก้าวหน้าและบริหารจัดการทรัพยากรของโครงการ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานและการใช้งานร่วมกับพาร์ตเนอร์ของเราด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังได้เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการวัดผลที่ชัดเจน โดยมีการตั้งเป้าหมายในการลดผลกระทบจากงานก่อสร้าง เช่น การลดขยะก่อสร้างภายในไซต์งานลง 15% รวมถึงมีการกำหนดใช้วัสดุ Low Carbon 30% ใน TOR ซึ่งนอกจากการตั้งเป้าหมายแล้ว การวัดผล ก็เป็นที่ต้องให้ความสนใจ โดยมีการทำ Dashboard ในการเก็บข้อมูลและการจัดการขยะ ซึ่งเราพัฒนากันเองภายใน ปัจจุบันเราใช้เครื่องมือนี้ในการวิเคราะห์ วัดผล และจัดการขยะในไซต์ก่อสร้างของเรา

Green Ecosystem คือคีย์ไดรฟ์สู่การเปลี่ยนแปลง

นายประเสริฐ ตระการวชิรหัตถ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อส่วนโครงการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของแสนสิริ คือการนำโมเดล Green Supply Chain มาประยุกต์ใช้ร่วมทำงานกับคู่ค้า และเน้นการพัฒนาต่อยอดเพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และผลักดันให้คู่ค้าพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ในเรื่องการจัดซื้อ เราให้ความสำคัญกับการคัดเลือกวัสดุที่นำมาใช้ที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การผ่านการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด วัสดุบางประเภทต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบและรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ แสนสิริยังสนับสนุนการใช้วัสดุที่มีการรับรองจากองค์กรอื่น ๆ หรือการรับรองด้วยตัวเอง (Self-Certified) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกระบวนการในการพัฒนาโครงการจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในปี 2566 ที่ผ่านมาเรามีการตั้งเป้าหมายการจัดซื้อวัสดุที่มีการรับรอง Self-Certified 30% ซึ่งเราบรรลุเกินกว่าเป้าหมายที่มีการจัดซื้อวัสดุดังกล่าวที่ 53% เรามีการวัดผลและติดตามผลที่จริงจัง และนำมาคำนวณในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร อีกทั้งในแง่ของการผลิตวัสดุ คู่ค้าของเราเองก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อเรานำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ บ้านที่เราส่งมอบให้กับลูกค้า

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์