รูปบทความ ชม 7 ตัวอย่างธุรกิจ Startup ญี่ปุ่นน่าสนใจ ใครๆ ก็ว่าโดน

ชม 7 ตัวอย่างธุรกิจ Startup ญี่ปุ่นน่าสนใจ ใครๆ ก็ว่าโดน

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อะไรหลายๆ อย่างก็จำเป็นต้องปรับตัว รวมถึงประเทศญี่ปุ่นที่ถึงแม้จะเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่ก็ยังต้อง 'ปรับเปลี่ยน' ตัวเองให้สามารถอยู่รอดด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้เองทำให้ธุรกิจ  Startup ของญี่ปุ่นเติบโตขึ้น หลังจากที่ต้องทนอยู่ในกระแสการต่อต้านทางกฎหมายมาสักพัก 

เมื่อพูดถึงประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดคงหนีไม่พ้น วัฒนธรรม ความสวยงามของบ้านเมือง และเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นมีความโดดเด่นมากขึ้นในปี 2017 นั่นก็คือ แวดวงธุรกิจที่เริ่มผันตัวเองมาเป็น Tech Startup กันมากขึ้น ก็ถือเป็นเรื่องดีๆ ที่กลุ่มธุรกิจนี้ได้ลืมตาอ้าปากบ้าง เพราะก่อนหน้านี้ ธุรกิจ Startup เด่นๆ อย่าง Airbnb ที่ตีตลาดได้ทั่วโลกก็เคยถูกควบคุมด้วยกฎระเบียบเคร่งครัด ทำให้ตลาด Startup ในประเทศญี่ปุ่นดูจะเป็นไปได้ยาก แต่หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดกว้างให้ธุรกิจ Airbnb มากขึ้นก็ดูเหมือนจะกระตุ้นให้วงการนี้คึกคัก และได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งในวันนี้ Estopolis ของเราจะขอพาไปทำความรู้จักกับ ชม 7 ตัวอย่างธุรกิจ Startup ญี่ปุ่นที่ใครๆ ก็ออกปากชมว่าน่าสนใจ แถมยังช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ด้วย


Hyakusenrenma : Startup ญี่ปุ่นบริการเรื่องที่พักสุดประทับใจ

Hyakusenrenma บริษัท Startup ที่คิดค้นเซอร์วิสที่เรียกว่า Stay japan เป็นบริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการพักในรูปแบบใหม่ที่เน้นการเข้าพักในบ้านของชาวนาหรือชาวประมง (ฟังดูแล้วคล้าย Airbnb อยู่เหมือนกัน) แต่ Stay japan จะใกล้ชิดกับธรรมชาติและได้ศึกษาชีวิตแบบชนบทของประเทศญี่ปุ่นแบบจริงจังอีกด้วย 


TABICA  : Startup ญี่ปุ่นบริการด้านท่องเที่ยวแบบ Local

อีกหนึ่งบริษัท Startup ที่ให้บริการด้านท่องเที่ยว เหมาะสำหรับคนที่สนใจวิถีชีวิตแบบชนบทของญี่ปุ่น โดย TABICA จะจัดทริปพานักท่องเที่ยวไปสัมผัสกับบรรยากาศและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในชนบทเป็นเวลา 1 วัน ก็ถือว่าเป็นเซอร์วิสที่ช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวแบบใหม่ของญี่ปุ่น และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนชนบทของญี่ปุ่นได้อีกทาง


Mebiol : Startup ญี่ปุ่นเพื่อการเกษตร


กระแสรักษ์โลกกำลังมาแรง และ Mebiol ก็ไม่พลาด ด้วยการคิดค้นขึ้นมาเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ด้วยแผ่นฟิล์ม (Film Planting) 

Mebiol เป็นที่รู้จักและน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากคิดค้นเทคโนโลยีการปลูกต้นไม้ด้วยแผ่นฟิล์ม (Film Planting) จาก Hydro Agriculture Technology จนเกิดเป็นแผ่นฟิล์มใสที่ชื่อว่า “Hymec” ซึ่งช่วยทำประโยชน์ให้กับภาคเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก เพราะช่วยแก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพในบริเวณพื้นที่แห้งแล้ง หรือแหล่งโรงงาน ทำให้สามารถปลูกพืชทางการเกษตรในบริเวณนั้นได้ ซึ่งก็พิสูจน์มาแล้วด้วยการนำ Hymec ไปปลูกมะเขือเทศบนพื้นคอนกรีตในเรือนกระจกล้อมด้วยไม้ไผ่ของโรงแรม Kyoto Brighton และตอกย้ำความสำเร็จนี้อีกขั้น เพราะเป็นอีกหนึ่งบริษัท Startup ได้รับเกียรติขึ้นพูดในงาน TEDxTokyo อีกด้วย


Notteco : Startup ญี่ปุ่นเพื่อการเดินทาง

Notteco เป็นบริษัท Startup ที่น่าสนใจด้วยการคิดเซอร์วิสสำหรับการเดินทางในระยะไกลในประเทศญี่ปุ่น เพราะถึงแม้ญี่ปุ่นจะใช้รถไฟในกาารเดินทางเป็นหลัก แต่ก็ยังมีคนญี่ปุ่นบางส่วนที่ใช้รถยนต์ในการเดินทางออกต่างจังหวัด รวมถึงบางจังหวัดยังต้องพึ่งพารถยนต์ในการเดินทาง Notteco จึงคิดค้นบริการเปิดรับผู้ร่วมเดินทางไปด้วยกันได้ผ่านแอปพลิเคชันของ Notteco (คล้ายกับ Uber) ซึ่งถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัยในชนบท ผู้สูงอายุ หรือคนที่ไม่สามารถขับรถเองได้

Crowd Realty : Startup ญี่ปุ่นเพื่อการลงทุนด้านอสังหาฯ 

ถือเป็นบริการที่ไม่ค่อยได้เห็นสักเท่าไรกับ Crowd Realty บริษัท Startup ที่ให้บริการเกี่ยวกับ Peer to Property Funding Marketplace แปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การระดมทุน Crowdfunding Service  เกี่ยวกับการลงทุนด้านอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน คอนโด หรืออาคารเช่า รวมไปถึงเงินกู้/หลักทรัพย์ โดยทุกคนสามารถผ่าน Platform ของ Crowd Realty ได้เลย


Dverse : Startup ญี่ปุ่นเพื่อสร้างสรรค์โลกเสมือนจริง

Dverse เป็นบริษัท Startup ของญี่ปุ่นที่ทำเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สิ่งที่น่าสนใจของ Dverse  ก็คือการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของ Virtual Reality (VR) ในชื่อว่า SYMMETRY เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงด้วยการสวมแว่น VR และนำมาประยุกต์ใช้ในงาน Interior Design และงานสร้างสรรค์อีกมากมาย ทำให้ลูกค้าและนักออกแบบเข้าใจในผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้ตรงกันมากยิ่งขึ้น


Hoomano : Startup ญี่ปุ่นเพื่องานด้านบริการ


เมื่อพูดถึงหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นหลายคนคงจะนึกถึง ASIMO แต่ในวันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ “Pepper” หุ่นยนต์แบบใหม่จากบริษัท Hoomano ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หุ่นยนต์เพื่องานบริการ

Pepper เป็นหุ่นยนต์เพื่อการพาณิชย์ ที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์ด้วยระบบซอฟแวร์  Interactive Intelligence ทำให้สามารถช่วยเหลือและให้บริการต่างๆ กับมนุษย์ได้ ก็ถือเป็นบริการที่จะช่วยทุ่นแรงของมนุษย์ในการทำงานด้านบริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานสำหรับผู้ประกอบการได้อีกด้วย


จบกันไปแล้วกับ ตัวอย่างธุรกิจ Startup ญี่ปุ่นน่าสนใจ จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของ Startup ในประเทศญี่ปุ่นจะเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งก็ถือเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ และในอนาคตคงจะมีการนำไปพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั่วโลก

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์