รูปบทความ เจาะอาณาจักรธุรกิจอสังหาของ McDonald ใช่ครับคุณได้ยินไม่ผิดหรอก

เจาะอาณาจักรธุรกิจอสังหาของ McDonald ใช่ครับคุณได้ยินไม่ผิดหรอก

จริงๆแล้วเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหาร แต่เราทำธุรกิจอสังหาอยู่ต่างหาก ซึ่งเหตุผลเดียวที่เราขายแฮมเบอเกอร์ ราคา 15 เซนต์ ก็เพราะมันคือสิ่งที่สร้างกำไรได้เยี่ยมที่สุดเพื่อให้ผู้เช่าสามารถจ่ายค่าเช่าให้เราได้ยังไงละ - อดีต CFO ของแมคโดนัล Harry J. Sonneborn

หลายคนคงจะได้ดูภาพยนต์เรื่อง The founder ที่กำลังฉายอยู่ตอนนี้แล้วหรือหากใครที่ยังไม่ได้ดูก็คงต้องรู้จัก ร้านอาหารฟาสฟูดชื่อดังระดับโลกอย่าง แมคโดนัลด์ หรือ McDonald’s เป็นอย่างดี เพราะคนทั่วโลกสามารถจำสัญลักษณ์ของพี่แมคได้แม่นกว่าไม้กางเขนของพระเยซูซะอีก แต่ใครบ้างที่รู้ว่า แท้จริงแล้ว ธุรกิจหลักของแมคโดนัลด์นั้น ไม่ใช่การทอดแฮมเบอเกอร์ หรือแฟรนฟราย แล้วรอให้ผู้คนเข้ามาเสพความอร่อยเพียงอย่างเดียว แต่ภายใต้หน้ากากตัวตลกที่ถือแฮปปี้มีลแสนอร่อยนั้นคือ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตัวพ่อของโลกกันเลยทีเดียว ซึ่งวันนี้ผมคงไม่ได้มานั่งเล่าประวัติของของพี่น้อง หรือคุณเรย์ซักเท่าไหร่ แต่จะมานำเสนอเรื่องราวและรูปแบบการทำรายได้ของพี่แมคในธุรกิจอสังหากันแบบชัดๆ ให้คุณได้เห็นกันเลยดีกว่าครับ


จากธุรกิจแฮมเบอเกอร์ยักษ์ใหญ่ ที่เริ่มต้นธุรกิจในปี 1940 โดยสองพี่น้อง Richard and Maurice McDonald หรือ Dick กับ Mac ผู้สร้างระบบการผลิตที่รวดเร็วสุดเทพ ที่เพิ่มยอดขายของธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด และมุ่งมั่นที่จะสร้าง ความเป็นครอบครัว และชุมชนให้แก่ผู้บริโภค……

อ่าวเฮ้ย! แล้วไอตัวตลกขายแฮมเบอเกอร์นี่มันเป็น ธุรกิจอสังหาได้อย่างไร?

งั้นลองมาดูกันดีกว่าครับ รายได้ของแมคโดนัล ในปี 2015 นั้นมียอดอยู่ที่ 25,413 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมีรายได้ที่บริษัทเป็นคนดำเนินการ 16,488 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยอดจากแฟรนไชส์ 8,925 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

แต่คุณคงจะคิดสงสัยว่า “แฟรนไชส์มันก็แค่ 13 ของรายได้ไม่ใช่หรอ?”

ใช่ครับ แค่ลองมาดูกำไรของแต่ละส่วนดีกว่าครับ ลองสังเกตุที่แผนภาพจะเห็นว่ากำไรจากสาขาที่ดำเนินการด้วยตกเองนั้นที่ค่าใช้จ่ายตั้ง 13,977 ล้านดอลล่าร์เลยทีเดียว ในขณะที่ กำไรจากสาขาของแฟรนไชส์มีค่าใช้จ่ายเพียง 1,647 ล้านดอลล่าร์เท่านั้นส่วนที่เหลือก็ เงินเข้ากระเป๋าสบายๆ 7,278 ล้านดอลล่าร์กันเลยนะครับ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นก็ประมาณ 74% เลยทีเดียวครับ ได้กันเท่านี้ก็นอนนับเงินสบายๆเลยนะครับผม

ซึ่งเงินส่วนนี้ละครับที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยผมขอย้อนเวลากลับไปซักหน่อยนะครับ จุดเริ่มต้นของเรื่องมันเริ่มจากคุณ อดีต CFO ของแมคโดนัล Harry J. Sonneborn นี่ละครับที่เข้ามาช่วยเหลือ Ray Croc ของเราโดยการเปลี่ยนแมคโดนัลด์เป็น เครื่องจักรผลิตธนบัตรจากธุรกิจอสังหาและมีอำนาจเหนือสองพี่น้องกันเลยทีเดียว โดย Harry J. Sonneborn เคยพูดไว้ว่า “จริงๆแล้วเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหาร แต่เราทำธุรกิจอสังหาอยู่ต่างหาก ซึ่งเหตุผลเดียวที่เราขายแฮมเบอเกอร์ ราคา 15 เซนต์ ก็เพราะมันคือสิ่งที่สร้างกำไรได้เยี่ยมที่สุดเพื่อให้ผู้เช่าสามารถจ่ายค่าเช่าให้เราได้ยังไงละ” ซึ่งจากนั้น ทั้งคู่ก็พากันเปิดบริษัท ชื่อ Franchise Realty Corp. แล้วเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ถือแฟรชไชส์อีกที ซึ่งจากความหมายของคำว่า อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน หรือ ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย ก็สรุปได้เลยว่า Ray Croc เป็นเจ้าของที่ดิน ร้านอาหารฟาสฟู๊ดบนที่ดินของเค้าด้วยนั่นเอง ไหนๆ เป็นเจ้าของไม่ได้ ก็เอามันทั้งที่ดินเลยนะกันครับ

ดังนั้นกำไรทั้งหมดที่ได้จากแฟรชไชส์มาจาก 2 รูปแบบซึ่งได้แก่ ค่าส่วนแบ่งแฟรนไชส์ 4 เปอร์เซ็นหรือมากกว่านั้นจากยอดขาย และค่าเช่าที่ดินของแมคโดนัลด์นั่นเอง ซึ่งค่าเช่าที่นี้ไม่ได้เก็บกันแบบด้วยไปนะครับ พี่แกได้จัดการบวกเพิ่มจากราคาค่าเช่าทั่วไปอีก ซึ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินของแฟรนไชส์ได้ถือเป็น 65% ของรายได้จากแฟรชไชส์ทั้งหมดเลยนะครับ 


โดย Richard Adams ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง และเป็นที่ปรึกษาแฟรนไชส์เจ้าอื่นๆกล่าวว่าแมคโดนัลด์จ่ายค่าเช่าเดือนละ 2,400 ดอลล่าร์ (ประมาณ 80,000 บาท) แก่ห้างสรรพสินค้า และขอส่วนแบ่งจาก Adams ถึง 8.5% จากกำไรการขาย และเขาต้องจ่ายค่าเช่าที่ให้แก่แมคโดนัลด์ถึง 170,000 ดอลล่าร์ต่อปี หรือ 14,000 ดอลลาห์ต่อเดือน คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 490,000 บาทครับ กินอร่อยเลยครับแมคโดนัลด์ ผมหมายถึงค่าเช่าที่นะครับไม่ใช่แฮมเบอเกอร์


จากวันนั้นถึงวันนี้พี่แมคของเราได้เติบโตเป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีลูกค้าเฉลี่ย ถึง 68 ล้านคนต่อวัน มีสาขาทั้งหมดถึง 36,615 สาขา ใน 119 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นแฟรนไชส์ถึง 85% และยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันตลกหัวแดงของเราได้ลงทุนในธุรกิจอสังหาและเก็บค่าเช่าจากเหล่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจของเค้าอีกด้วย ซึ่งทำให้แมคโดนัลด์กลายเป็นบริษัทอสังหาขนาดใหญ่ของโลก โดยยอดอสังหาของแมคโดนัลด์ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนักลงทุนหลายคนพยายามให้แมคโดนัลด์แตกไลน์บริษัทอสังหาออกมาแต่การทำแบบนั้นคงไม่ใช่ความคิดที่ดีซักเท่าไหร่เพราะรายได้หลักของเขาเล่นมาจากอสังหาแบบนี้ และอีกทั้งปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องคงไม่สามารถทำให้แยกตัวออกมาได้ง่ายๆแน่ครับ แต่เห็นทีตอนนี้คนที่ได้กำไรก็คงเป็นตัวตลกหัวแดงแห่งวงการฟาสฟู๊ดนี่ล่ะครับ

ถ้าอยากใครอยากรู้รายละเอียดหรือประวัติเพิ่มเติมของ McDonald ผมอาจเอามานำเสนอในคราวถัดไปและหากผู้อ่านท่านใดได้แนวคิดอะไรจากเรื่องนี้ก็ลองออกไปลุยกับการลงทุนดูนะครับ แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอครับ ขอให้โชคดีครับ :)

ข้อมูลอ้างอิง

http://corporate.mcdonalds.com/content/mcd/investors/financial-information/annual-report.html

http://www.nrn.com/blog/why-mcdonalds-wont-ever-get-rid-its-real-estate

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์