รูปบทความ รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ดีต่อใจ คนรอใช้กว่า 12 ล้านคน!

ปัจจุบันนี้ข่าวรถไฟฟ้า ที่หลายคนได้ยินมากำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายสาย แต่ที่เป็นรูปเป็นร่างมากที่สุดก็ต้องยกให้สายสีเขียวเหนือ วันนี้ Estopolis จะมาพูดถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือที่กำลังก่อสร้างอยู่ ณ ขณะนี้กัน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต สะพานใหม่ คูคต เป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองโซนนอกและใจกลางเมืองเข้าด้วยกัน นับว่าเป็นสายที่มีศักยภาพมากที่สุดอีก 1 สาย เมื่อสร้างเสร็จแล้วจำนวนคนที่รอใช้บริการนั้นมีไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน ราคาที่ดินเสนอขายสูงถึง 2.5 แสนบาทต่อตร.ว. เพิ่มขึ้นจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 100% และมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีก ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต สะพานใหม่ คูคต จะตัดผ่านส่วนไหนของกรุงเทพฯ บ้างนั้น จะตรงกับบ้านหรือคอนโดใครหรือเปล่า สถานีแต่ละแห่งอยู่บริเวณไหน และจะสร้างเสร็จเมื่อไหร่ ตามไปดูกันเลย





สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีสถานีทั้งหมด 16 สถานี ระยะทางตั้งแต่ต้นสายถึงปลายสายรวมระยะทางแล้วกว่า 19 กิโลเมตร แถมบางสถานียังเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นด้วย เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้สะดวก ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 5 แยกลาดพร้าว ยาวไปจนถึง สถานีตำรวจภูธรคูคต

1. สถานีห้าแยกลาดพร้าว : หน้าห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สถานี MRT พหลโยธิน)

รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีห้าแยกลาดพร้าว

สถานีห้าแยกลาดพร้าว 1 ใน 22 สถานีของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นสถานที่ถูกจับตามองมากที่สุด และคาดว่าเมื่อรถไฟฟ้า MRT สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สร้างเสร็จจะมีผู้ใช้บริการมากที่สุด


2. สถานีพหลโยธิน 24 : ปากซอยพหลโยธิน 24

3. สถานีรัชโยธิน : สี่แยกรัชโยธิน

รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีรัชโยธิน

เมเจอร์รัชโยธิน แหล่งช็อปปิ้งที่มีร้านอาหารให้เลือกกิน เลือกช็อปมากมาย ในส่วนของร้านอาหารก็มีอย่างเช่น Oishi, Sizzler, MK, Yayoi, Black Canyon, Chester’s Grill, Starbucks, Swensen's, เกี๋ยวเตี๋ยวเรือท่าสยาม, ฮะจิบัง ราเมน, เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เอาใจคนชอบดูหนัง ส่วนใครที่ชอบออกกำลังกาย ที่นี่ก็มี Fitness มีโบว์ลิ่ง และคาราโอเกะอยู่ที่ชั้น 4 อีกด้วย ส่วนด้านนอกมีตลาดนัด ร้านเปิดท้ายขายของ รวมถึง ซูซูกิ อเวนิว รัชโยธินที่มีร้านค้าและร้านอาหารแบรนด์ดังๆ ให้เลือกสรรมากมาย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เพียงแค่นั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวก็ทำให้เราเข้าถึงไลฟ์สไตล์ในแบบคนเมืองได้ไม่ยาก


4. สถานีเสนานิคม : ปากซอยเสนานิคม ภาพจำลอง

รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีเสนานิคม อยู่ใกล้กับซอยพหลโยธิน 34 ติดกับโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล (โรงพยาบาลเมโยเดิม) ซึ่งทำให้ผู้อาศัยสะดวกสบายเรื่องการเดินทางมาหาหมอเมื่อเจ็บป่วย


5. สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : หน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาพจำลอง รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


6. สถานีกรมป่าไม้ : หน้าสำนักงานกรมป่าไม้

ภาพจำลอง รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีกรมป่าไม้


7. สถานีบางบัว : บริเวณโรงเรียนบางบัว

ภาพจำลอง รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีบางบัว



8. สถานีกรมทหารราบที่ 11 : บริเวณกรมทหารราบที่ 11

ภาพจำลอง รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีกรมทหารราบที่ 11

บ้านต้นไม้ในพิพิธภัณฑ์ “บ้านบางเขน” ที่อยู่ตรงกันข้ามกับกรมทหารราบที่ 11 ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีกรมทหารราบที่ 11

แหล่งท่องเที่ยงแหล่งใหม่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เปิดได้ไม่นานนัก “บ้านบางเขน” แหล่งแฮงค์เอาท์ชิคๆ ยุค 90’s  ที่รวบรวมอาหารและร้านขายของสไตล์ชิคๆ ไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านเมืองเก่าย้อนไปในยุค 90’s ให้ได้เยี่ยมชม ซึ่งบัตรเข้าราคา 20 บาทต่อคนเท่านั้น


9. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ : บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ภาพจำลอง รถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

โครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับบริเวณแยกหลักสี่ซึ่งจะต้องก่อสร้างไปตามแนวอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

10. สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ : บริเวณซอยพหลโยธิน 57


11. สถานีสายหยุด : บริเวณซอยสาดหยุด


12. สถานีสะพานใหม่ : ตลาดยิ่งเจริญ


13. สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช : โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและกรมแพทย์ทหารอากาศ

14. สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ : บริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

15. สถานี กม.25 : บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,043 คัน

ภาพจำลองอาคารจอดแล้วจร กม.25 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณสถานี กม.25 หรือบริเวณแยก ค.ป.อ. ถนนพหลโยธิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร


16. สถานีคูคต : บริเวณสถานีตำรวจภูธรคูคต เชื่อมต่อกับศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) และ อาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) จอดรถยนต์ได้ประมาณ 713 คัน


โดยเส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีเขียวในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ มีการคาดการณ์กันไว้ว่าน่าจะเสร็จประมาณปี 2562 แต่กว่าจะเปิดให้ใช้งานได้จริงก็คงปี 2563 หลังจากทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว รถไฟฟ้าเส้นนี้จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 60,000-80,000 คนต่อวันเลยทีเดียว



และแน่นอนว่าเมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่าน ความเจริญก็ต้องเข้ามาเป็นธรรมดา คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดก็คือผู้อยู่อาศัยย่านสะพานใหม่-คูคต อ.ลำลูกกา และบริเวณใกล้เคียง ที่มีมากถึง 12 ล้านคนซึ่งจะช่วยลดปัญหารถติดได้เป็นอย่างดี เพราะคนที่มาทำงานหรือเข้ามาเรียนบริเวณที่รถไฟฟ้าตัดผ่านนั้นก็มีจำนวนเยอะมาก ทั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โรงเรียนหอวัง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและกรมแพทย์ทหารอากาศ และสำนักงานกรมป่าไม้ ซึ่งการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสายนี้ก็จะช่วยลดภาระบนท้องถนนไปได้มาก

ในส่วนของไฮไลท์ของการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คือการเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารในการเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ อีกด้วยปัญหาเรื่องเวลาในการเดินทางก็ลดน้อยลงด้วย

ปกติเราเดินทางโดยใช้รถยนต์กว่าจะเข้าไปถึงใจกลางเมืองก็กินเวลาไป 2-3 ชั่วโมงแล้ว แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสถานีคูคต ไปถึงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จะใช้เวลาเพียง 35 นาทีเท่านั้นเอง แถมยังเสียค่าเดินทางแค่ 50 บาทเท่านั้นเอง

ไม่ใช่แค่ความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางเท่านั้นที่รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มอบให้ แต่ยังรวมไปถึงความเจริญที่จะเกิดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อข่าวรถไฟฟ้าจะตัดผ่านก็ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก คนก็แห่ซื้อคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียวกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโดยช่วงสถานีที่ห้าแยกลาดพร้าว-สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มองจากมุมของนักลงทุนแล้วมีศักยภาพโดดเด่นที่สุด เพราะอยู่ใกล้ความเจริญ ใกล้ และสถานีเชื่อมต่อหมอชิต ครบครันด้วยแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำต่างๆ และมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งราคาที่ดินก็ปรับขึ้นมาแพงเช่นกันรวมทั้งราคาคอนโดมิเนียมด้วย

เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เข้าถึง ราคาที่ดินก็ย่อมแพงขึ้นด้วย ดังนั้นนักลงทุนจึงเริ่มเปลี่ยนทิศทางทำเลใหม่ด้วยการขยับขยายไปยังบริเวณสถานีสะพานใหม่ แม้ว่าจะขยายไปได้ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ต้องมีการควบคุมความสูงของตัวอาคาร เนื่องจากอยู่ใกล้สนามบินนั่นเอง ดังนั้นคอนโดที่จะสร้างอาจจะต้องเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบ Low Rise แทน High Rise

“ราคาที่ดิน ย่านลาดพร้าว ประมาณตารางวาละ 3 แสนบาท แยกรัชโยธินตารางวาละ 2-2.5 แสนบาท ใกล้เคียงกับแยกเกษตรฯ ส่วนย่านสะพานใหม่ตารางวาละ 1-1.5 แสนบาท และสุดเส้นทางที่ถนนลำลูกกา คลองสอง ตารางวาละ 6-7 หมื่นบาท”

เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้สร้างเสร็จ ความเจริญเกิดขึ้น บ้านเมืองก็เจริญขึ้น คนเข้ามาอาศัยก็จะมากขึ้น ทำให้ร้านค้าขนาดเล็กทั้งหลายก็จะผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเช่นกัน สร้างตัวเลือกให้กับผู้บริโภคอย่างเราได้เยอะมากขึ้น สามารถซื้อของได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตอบโจทย์ชีวิตของความเป็นคนเมืองไปได้อีกขั้นหนึ่ง และที่สำคัญเลยก็คือ ปัญหาจราจรจะหมดไปอย่างแน่นอน เราอาจจะได้เห็นถนนทั้งเส้นพหลโยธิน และเส้นวิภาวดี รังสิต ในแบบที่โล่งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนก็ได้  


ที่มา : PR MRTA Official

        : http://www.posttoday.com 

        : http://www.thansettakij.com




เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์